Card image capCard image cap

 

คุณสมบัติผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทย ควบคู่กับความเป็นสากล ให้ผู้เรียนพัฒนา คุณภาพชีวิต และให้สามารถทาประโยชน์ให้กับสังคม ตามบทบาทและหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองดี ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยให้นักเรียนเตรียมทหารได้พัฒนา เชาว์ปัญญา มีความรู้และทักษะอันจาเป็นต่อการประกอบอาชีพทหาร - ตำรวจ ร่วมพัฒนาสังคม ด้วยแนวทาง และวิธีการใหม่ ๆ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเมื่อนักเรียนเตรียมทหารสาเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร จะมีพื้นฐานความรู้ คุณสมบัติ และสมรรถภาพเหมาะสมที่จะเข้ารับการศึกษาต่อ ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตารวจในระดับอุดมศึกษาต่อไป

การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนเหล่าทัพ (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ) จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของแต่ละเหล่าทัพ เพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหาร

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของแต่ละเหล่าทัพ ประมาณปีละ 500 คน  

เส้นทางเกียรติศักดิ์

การที่จะได้เดินบนเส้นทางแห่งเกียรติศักดิ์สายนี้มิใช่เรื่องง่าย เพราะแต่ละปี มีผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารจำนวนมาก แต่ผู้ได้รับการคัดเลือกมีจำนวนน้อย กล่าวคือ โรงเรียนเตรียมทหารรับสมัครนักเรียนชายที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป อายุ 16 -18 ปี ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี และจะทำการสอบคัดเลือกในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งโรงเรียนเหล่าทัพทั้ง 4 เหล่าจะสอบไม่พร้อมกัน

ในส่วนการสอบคัดเลือกจะแบ่งเป็น 2 รอบ กล่าวคือ การสอบรอบแรกเป็นการสอบภาควิชาการใน 5 วิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย การสอบรอบที่สองเป็นการสอบสัมภาษณ์ และทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เรียกว่าเป็นการทดสอบที่ต้องใช้สติปัญญา ไหวพริบ พละกำลัง และความพร้อมทุก ๆ ด้าน เพื่อจะช่วงชิงให้ได้เข้ามาเป็นนักเรียนเตรียมทหารในแต่ละเหล่าทัพ

ในแต่ละจะมียอดผู้สมัครสอบเฉลี่ย 15,000 - 20,000 คน แต่โรงเรียนเตรียมทหารรับนักเรียนได้เพียงปีละ 500 กว่าคนเท่านั้น ดังนั้น นักเรียนคนใดที่พร้อมจะฝ่าฝันกับผู้คนนับหมื่นเพื่อจะได้เป็นนักเรียนเตรียมทหารก็จะต้องมีการเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ ต้องมีการติวล่วงหน้ากันเป็นปี หรือมากกว่าหนึ่งปี

Card image cap

 

คุณสมบัติผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (หลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ 4)

1. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า 

2. อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร การนับอายุให้นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร (ผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ทำการสอบ) 

3. มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา ผู้ให้กำเนิดต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือ นายตำรวจสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน หรือ นายตำรวจประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้ 

4. ขนาดของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัดความสมบูรณ์ตามที่กำหนด 

5. มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทางเหมาะแก่การเป็นทหาร ไม่มีโรคต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และตามระเบียบที่กองทัพไทยกำหนด 

6. เป็นชายโสด 

7. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่บกพร่องในศีลธรรม เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 

8. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หรือ ไม่เคยต้องคำพิพากษาของศาลว่าได้กระทำผิดในคดีอาญา เว้นแต่ความผิดในลักษณะฐานลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท 

9. ไม่เคยถูกไล่ออก หรือ ถูกปลดออกจากสถานศึกษาในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ หรือโรงเรียนทหาร โรงเรียนตำรวจ หรือ ถูกทางราชการไล่ออก หรือปลดออก ทั้งนี้ เนื่องจากความประพฤติไม่เหมาะสม 

10. ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกถอดถอนทะเบียนออกจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร 

11. ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเสพติดให้โทษที่ต้องห้ามตามกฎหมาย 

12. ต้องไม่มีพันธกรณีผูกพันกับส่วนราชการใด ๆ อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา 

13. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นผู้มีอาชีพสุจริตชอบธรรม และมีหลักฐานเชื่อถือได้ 

14. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร 

15. มีผู้ปกครองและผู้รับรอง ซึ่งสามารถรับรองข้อความและพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้ 

หมายเหตุ :คุณสมบัติและลักษณะดังกล่าวในข้อ 1-15 นี้ หากปรากฏว่าเป็นความเท็จขึ้นภายหลังจากที่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว จะต้องพ้นจากฐานะนักเรียนเตรียมทหารทันทีและผู้สมัครยังอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย

Card image cap

 

การสอบคัดเลือก (หลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ 4)

การสมัครสอบทุกเหล่าจะเปิดรับสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ต ประมาณเดือนธันวาคม - มกราคม  

การสอบคัดเลือกประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคม ของทุกปี

การสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารจะกระทำเป็นสองรอบ คือ  
1. การสอบรอบแรก เป็นการสอบภาควิชาการ 
2. การสอบรอบที่สอง เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจความสมบูรณ์ ของร่างกายและจิตใจ                                     

โดยการสอบรอบแรก หรือการสอบภาควิชาการ จะทำการสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยมีขอบเขตเนื้อหารายวิชาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ 

1. การสอบรอบแรก หรือการสอบภาควิชาการจะทำการสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยมีขอบเขตเนื้อหารายวิชาครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1.1  วิชาภาษาอังกฤษ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ Grammar, Vocabulary, Expression, Conversation และ Reading Comprehension

* เหล่าทหารบก กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ทหารเรือ และทหารอากาศ กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

1.2 วิชาคณิตศาสตร์ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ พื้นที่ผิวและปริมาตร, กราฟ, ระบบสมการเชิงเส้น, ความคล้าย, กรณฑ์ที่สอง, การแยกตัวประกอบของพหุนาม, สมการกาลังสอง, พาราโบลา, อสมการ, ความน่าจะเป็น, สถิติ, ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์, การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม, ระบบสมการ, วงกลม, และเศษส่วนของพหุนาม และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ เซต, การให้เหตุผล, จานวนจริง, ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, ตรรกศาสตร์เบื้องต้น, ระบบจานวนจริง, ทฤษฎีจานวนเบื้องต้น, เลขยกกาลัง, อัตราส่วนตรีโกณมิติ, ความน่าจะเป็น, ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์, ฟังก์ชัน, เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย  

* เหล่าทหารเรือ และทหารอากาศ กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

1.3 3. วิชาวิทยาศาสตร์ มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ โครงสร้างของโลก, โลกและการเปลี่ยนแปลง, ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา, ธรณีประวัติ, เอกภพ, ดาวฤกษ์ระบบสุริยะ, เทคโนโลยีอวกาศ, การเคลื่อนที่, สนามของแรง, คลื่น, กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์, การเคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่, การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ, งานและพลังงาน, โมเมนตั้มและการชน, การเคลื่อนที่แบบหมุน, สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น, อะตอมและตารางธาตุ, พันธะเคมี, สมบัติของธาตุและสารประกอบ, ปริมาณสัมพันธ์ และของแข็ง ของเหลว แก๊ส

1.4 วิชาภาษาไทย มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ สาระที่ 1 การอ่าน / สาระที่ 2 การเขียน / สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด / สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย / สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม  

1.5 วิชาสังคมศึกษา มีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือ ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม, หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์ รวมทั้งความรู้รอบตัว ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน 

ทั้งนี้ ข้อสอบมีคะแนนรวม 700 คะแนน โดยจะคัดเลือกผู้ที่มีคะแนนดีที่สุดตามลำดับคะแนน ตามจำนวนที่โรงเรียนกำหนด เข้าทำการสอบรอบสองต่อไป   ในส่วนของการเตรียมตัวสอบภาควิชาการ ผู้สมัครไม่ต้องเตรียมเครื่องเขียนใด ๆ ทั้งสิ้น ทางราชการจะจ่าย ดินสอ ยางลบ และกระดาษใบตอบ ให้ไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด หรือกระดาษร่าง หรืออุกรณ์อื่น ๆ เข้าไปในห้องสอบ   

2. การสอบรอบที่สอง เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจความสมบูรณ์ ของร่างกายและจิตใจ ตามรายละเอียดดังนี้ 

2.1 การตรวจสุขภาพ เป็นการทดสอบสุขภาพจิต การตรวจขนาดรูปร่าง ลักษณะ ความสมบูรณ์ของร่างกาย ตลอดจนการตรวจโรค และ ความพิการที่ขัดต่อการเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร 

2.2 การสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจาเป็นการตรวจสอบรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ คุณลักษณะความเหมาะสมที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร มีผลการสอบ "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" เท่านั้น ผู้สอบไม่ผ่าน หมายถึง ผู้ที่มีลักษณะทางร่างกายไม่เหมาะสมที่จะเป็นนายทหาร-นายตำรวจ

2.3 การสอบพลศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุกประเภท ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่งถือว่าสอบไม่ผ่าน โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน

การสอบพลศึกษา ประกอบด้วยการทดสอบ จำนวน 8 ประเภท ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องทำการทดสอบให้ครบทุกประเภท ตามที่กำหนด โดยมีประเภทและวิธีการทดสอบ ดังนี้ 

1. ลุกนั่ง 30 วินาที ให้ผู้รับการทดสอบอยู่ท่าเริ่มต้น คือ นอนหงาย เข่าทั้งสอง งอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองห่างกันประมาณ 1 ฟุต มือทั้งสองให้นิ้วมือประสานกันอยู่ที่ท้ายทอย กางศอกให้แนบพื้นเบาะ เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือจะนั่งคุกเข่าบริเวณปลายเท้า มือทั้งสองจับและกดที่ข้อเท้าของผู้เข้ารับการทดสอบ ให้เท้าติดพื้น เมื่อพร้อมแล้ว กรรมการจะให้สัญญาณว่า “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบยกลำตัวท่อนบนขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะและรวบศอกทั้งสองข้างชิดกันเข้าอยู่ระหว่างช่องเข่าแล้วกลับนอนหงายลงพื้นให้อยู่ในท่าเริ่มต้นคือ ให้นิ้วมือที่ประสานอยู่ที่ท้ายทอยและศอกทั้งสองข้าง สัมผัสที่เบาะ ทำเช่นนี้ติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ภายในเวลา 30 วินาที หากผู้เข้ารับการทดสอบปฏิบัติผิดจากวิธีดังกล่าวกรรมการจะไม่นับจำนวนครั้ง ที่ทำผิดนั้น

2. นั่งงอตัว ให้ผู้รับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้น คือ นั่งเหยียดขาตรงชิดกันและให้ข้างเท้าด้านในชิดกัน ตั้งเท้าให้เป็นมุมฉาก ฝ่าเท้าทั้งสองสัมผัสกับกล่องตรงกลางไม้วัด เมื่อกรรมการสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้รับการทดสอบโน้มตัวลงไปเหยียดแขนและปลายนิ้วมือให้ตึงเลื่อนไปข้างหน้าตามแนวไม้วัด จนไม่สามารถเลื่อนปลายนิ้วมือต่อไปได้ และเข่าจะต้องเหยียดตรงตลอดเวลา ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ การบันทึกให้ถือระยะที่ไกลที่สุดตามแนวไม้วัด

3. ดึงข้อ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้นโดยจับราวเดี่ยวคว่ำมือ มือห่างกันประมาณความกว้างเท่าช่วงไหล่ ปล่อยลำตัวห้อยลงเหยียดตรง เมื่อพร้อมแล้วกรรมการจะสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว แล้วปล่อยตัวลงมาอยู่ในท่าเริ่มต้นและดึงขึ้นในลักษณะเดิมติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ห้ามแกว่งตัวหรือเตะเท้าช่วย หากหยุดพักระหว่างครั้งเกิน 5 วินาที หรือไม่สามารถดึงตัวขึ้นจนคางพ้นราวได้เกิน 2 ครั้งติดต่อกัน ให้หยุดการทดสอบ

4 ยืนกระโดดไกล ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้นโดยยืนบนกระดานเส้นเริ่ม ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วกรรมการจะสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบเหวี่ยงแขนทั้งสองไปด้านหลัง ก้มตัวย่อเข่าเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหน้าพร้อมกระโดด ให้ลำตัวและเท้าทั้งสองไปด้านหน้าให้ไกลที่สุด การวัดระยะการกระโดด จะถือจากเส้นเริ่มไปยังจุดที่ส้นเท้าสัมผัสพื้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสพื้นใกล้เส้นเริ่มมากที่สุด หากการทดสอบผิดจากที่กำหนด เช่น เหยียบเส้นเริ่มต้น ให้ผู้เข้ารับการทดสอบสามารถทดสอบได้อีก 1 ครั้ง

5. วิ่งกลับตัว เป็นการวิ่งทดสอบบนทางเรียบไป - กลับ ระยะทาง 10 เมตร หลังเส้นเริ่มต้นและปลายทางจะมีวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ซม. และจะมีท่อนไม้ 2 ท่อน (ขนาด 5 x 5 x 10 ซม.) วางขนาน ห่างกัน 10 ซม. กลางวงกลมปลายทาง ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนเท้าข้างใดข้างหนึ่งอยู่หลังเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้ว กรรมการสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปหยิบท่อนไม้ในวงกลมปลายทาง 1 ท่อนแล้ววิ่งกลับตัวเอาไม้มาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม แล้ววิ่งกลับไปหยิบท่อนไม่อีกท่อนหนึ่ง แล้วกลับตัวมายังเส้นเริ่มและวิ่งผ่านเลยเส้นเริ่มไป โดยไม่ต้องวางท่อนไม้ท่อนที่ 2 ระหว่างการทดสอบ ห้ามโยนท่อนไม้ท่อนแรกเข้าวงกลม และหากวางไม้ไม่ตรงวงกลมจะต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ หรือเมื่อทำการทดสอบเกิดการหกล้ม จะให้ผู้เข้ารับการทดสอบ ทำการทดสอบได้อีก 1 ครั้ง แต่จะบันทึกเวลาและคิดคะแนนในครั้งหลัง

6. วิ่ง 50 เมตร ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่หลังเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้ยินสัญญาณปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปยังเส้นชัยให้เร็วที่สุด การคิดคะแนนจะคิดตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด

7. ว่ายน้ำ 50 เมตร ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนบนแท่นปล่อยตัว หรือเกาะที่ขอบสระด้านเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้ยินสัญญาณปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบพุ่งตัวลงน้ำหรือถีบตัวออกจากขอบสระเส้นเริ่ม แล้วว่ายน้ำโดยเร็วในท่าใดก็ได้ไปยังเส้นชัยแตะขอบสระอีกด้านหนึ่ง การคิดคะแนนจะคิดตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด

* เหล่าทหารบก กำหนดว่า ว่ายน้ำถึงระยะทาง 50 เมตร หรือว่ายน้ำถึงระยะทาง 50 เมตร แต่ทำเวลาได้เกิน 80 วินาที ถือว่าไม่ผ่านการสอบพลศึกษา อนึ่ง ในกรณีที่ผู้เข้ารับการทดสอบ สอบไม่ผ่านว่ายน้ำตามข้อกำหนด คณะกรรมการสอบพลศึกษาจะให้โอกาสทดสอบซ้ำอีก 1 ครั้ง หลังจากผู้เข้ารับการทดสอบคนสุดท้ายในวันนั้นๆ เสร็จสิ้นการทดสอบไปแล้วไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยผู้ที่จะขอทดสอบซ้ำ จะต้องแจ้งความประสงค์ต่อคณะกรรมการการสอบพลศึกษาใรโอกาสแรกที่ทราบว่าตนเองไม่ผ่านการทดสอบว่ายน้ำ / เหล่าทหารเรือ กำหนดว่า หากผู้เข้ารับการทดสอบว่ายน้ำไม่ถึงเส้นชัย หรือว่ายน้ำไม่ผ่านในเวลาที่กำหนด ถือว่าสอบไม่ผ่านรอบสอง / เหล่าตำรวจ กำหนดว่า ผู้ที่สอบว่ายน้ำทำเกินเวลา 1 นาที 20 วินาที หรือว่ายไม่ถึงเส้นชัย ถือว่าสอบตกพลศึกษา

8. วิ่ง 1,000 เมตร ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนเท้าใดเท้าหนึ่งหลังเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้รับสัญญาณปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด จนถึงเส้นชัย การคิดคะแนนจะคิดตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด

* เหล่าตำรวจ กำหนดว่า ผู้ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า 5 นาที 22 วินาที หรือวิ่งไม่ถึง ถือว่าสอบพลศึกษาตก

ดูคลิปประกอบเพิ่มเติม เรื่อง “แนวทางการสอบสัมภาษณ์และพลศึกษา (นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก)” ได้ที่ https://youtu.be/4LHaZQL-OSg 

ภารกิจโรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนเหล่าทัพ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

โรงเรียนเตรียมทหาร

โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย มีภารกิจในการให้ การศึกษาแก่นักเรียนเตรียมทหารในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6) มีระยะเวลาการศึกษา 2 ปี ให้มีความรู้ ความสามารถในวิชาการทหารเบื้องต้น ปลูกฝังคุณสมบัติการเป็นผู้นา อุปนิสัย อัธยาศัย กาลังใจ ให้เข้มแข็ง มั่นคง ตลอดจนเสริมสร้างพลานามัย เพื่อให้ผู้สาเร็จการศึกษาทุกคน มีพื้นฐานความรู้ คุณสมบัติ และ สมรรถภาพร่างกายอันเหมาะสมที่จะเข้ารับการศึกษาต่อใน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตารวจต่อไป 

Card image cap

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

มีหน้าที่ให้การฝึก ศึกษา อบรมนักเรียนนายร้อย เพื่อให้มี คุณลักษณะที่จำเป็นและเพียงพอแก่การรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพบก และกองบัญชาการ กองทัพไทย นายทหารสัญญาบัตรเหล่านี้จะมีคุณลักษณะทางทหารที่ดีเด่น โดยเฉพาะคุณลักษณะของผู้นำที่มี ความซื่อสัตย์ สุจริต มีสติปัญญา และมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ และพันธกิจในการเป็นผู้นำ หน่วยระดับหมวดได้

นอกจากนั้น นักเรียนนายร้อยจะได้รับการศึกษาทางด้านวิชาการในระดับปริญญาตรี โดยสามารถเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่ง ซึ่งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจะเปิดให้เลือกตามความ เหมาะสมในแต่ละปีการศึกษา สาขาวิชาต่าง ๆ ประกอบด้วย ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตมี 5 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร สาขาวิชาวิศวกรรม อุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมแผนที่ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตมี 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาการ คอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต มี 1 สาขา ได้แก่ สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

สิทธิและหน้าที่ของนักเรียนนายร้อย

1. นักเรียนนายร้อยเป็นนักเรียนทหาร ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยโรงเรียนทหาร พ.ศ. 2543 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. บุคคลที่สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ร้องขอเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ตามกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

3. นักเรียนนายร้อยจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง แบบธรรมเนียมของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับจะต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และแบบธรรมเนียมของทหาร ทั้งยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย

4. นักเรียนนายร้อยจะต้องรับการฝึกและอบรม ตามระเบียบและหลักสูตรที่ทางราชการกำหนดโดยเคร่งครัด

5. นักเรียนนายร้อยมีสิทธิได้รับเงินเดือน การเลี้ยงดู การรับสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ การรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนดตลอดเวลาที่เป็นนักเรียนนายร้อย

ความภูมิใจเมื่อสำเร็จการศึกษา

- ได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร

- ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรีตามสาขาวิชาที่เลือกศึกษา

- ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ ยศร้อยตรี

- เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร จะมีนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 1 ประมาณ 10 - 12 นาย ได้รับการคัดเลือกไปศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อยต่างประเทศ

โรงเรียนนายเรือ

มีภารกิจในการผลิตนายทหารสัญญาบัตรที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านวิชาชีพ ทหารเรือเพียงพอที่จะสามารถปฏิบัติหน้าที่นายทหารสัญญาบัตร และนายตารวจสัญญาบัตรในส่วนของตารวจน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นผู้นา มีคุณธรรม มีความสานึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ เทิดทูนและยึดมั่น ในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และมีความรู้ทางวิชาการระดับอุดมศึกษาในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ ที่กองทัพเรือต้องการ ซึ่งนักเรียนนายเรือสามารถเลือกศึกษาได้ตามหลักเกณฑ์ ที่กาหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาโรงเรียนนายเรือ

เมื่อนักเรียนนายเรือสำเร็จการศึกษามีสิทธิได้รับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ วิทยาศาสตรบัณฑิต ตามสาขาวิชาที่ศึกษาและได้รับการแต่งตั้งยศเป็น “ว่าที่เรือตรี” และ “ว่าที่ร้อยตำรวจตรี” บรรจุในตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพเรือ และนายตารวจสัญญาบัตรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กองบังคับการตำรวจน้ำ) ต่อไป

นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร จะได้เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนนายเรือ เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรือ ซึ่งจะได้รับสิทธิและโอกาสดังนี้

ช่วงเวลาการศึกษาในโรงเรียนนายเรือ

1. นักเรียนนายเรือจะได้รับเงินเดือนตั้งแต่ 3,070 – 4,160 บาท ตามชั้นปี

2. กองทัพเรือ ออกค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ที่พัก อาหาร เครื่องแต่งกายให้ทั้งหมด

3. นักเรียนนายเรือ (ในส่วนของกองทัพเรือ) ที่มีผลการศึกษาดี มีสิทธิสอบคัดเลือก เพื่อไปศึกษาในโรงเรียนนายเรือต่างประเทศ (ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย) ปีละประมาณ 3 - 5 ทุน

4. มีทุนการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนดี และมีความประพฤติดีจำนวนมาก

5. นักเรียนนายเรือ ผู้มีผลการศึกษาดี มีความประพฤติดี จะได้รับแต่งตั้งให้ทาหน้าที่ หัวหน้าชั้น หรือนักเรียนบังคับบัญชา มีเงินเดือน ตั้งแต่ 4,400 - 5,340 บาท (งดรับเงินเดือนในข้อ 1)

6. นักเรียนนายเรือมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการรับราชการ โดยการไปฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล และเยี่ยมเยือนจังหวัดชายทะเลด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงได้เยี่ยม เยือนเมืองท่าของประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศกลุ่มอาเซียน, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี, ออสเตรเลีย ศรีลังกา และ อินเดีย

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ

1. ผู้สำเร็จการศึกษาในส่วนของกองทัพเรือได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร รวมทั้งได้รับการบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพเรือ ได้รับเงินเดือน และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) รวม 15,000 บาท เมื่อเป็นนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพเรือแล้ว มีสิทธิสมัครเข้ารับการศึกษา เพิ่มเติมทางการทหารตามขีดความสามารถของตนเอง ในสาขาอาชีพพิเศษต่าง ๆ อาทิ เช่น

- นักบินของกองทัพเรือ ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสาหรับนักบินประจำกอง 11,000 บาท ถึง 15,000 บาท/เดือน

- กำลังพลส่งทางอากาศ (นักโดดร่ม) ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้รับเงิน เพิ่มพิเศษรายเดือน 7,000 บาท/เดือน

- นักทำลายใต้น้ำจู่โจมของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ได้รับเงิน เพิ่มพิเศษรายเดือน 14,600 บาท/เดือน

- นักประดาน้ำของกรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้รับเงินเพิ่มพิเศษ รายเดือน 7,000 บาท/เดือน

- ต้นหนอากาศยาน ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน 7,000 บาท/เดือน

- ผู้ที่มีผลการศึกษาดี (คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงกว่า 2.80) มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกไป ศึกษาในระดับปริญญาโท หรือปริญญาโท - เอก ต่างประเทศ โดยทุนของกองทัพเรือ ในสาขาวิชาต่าง ๆ จานวนมาก

2. ผู้สาเร็จการศึกษาในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตำรวจน้ำ) จะได้รับ พระราชทานกระบี่ และปริญญาบัตร รวมทั้งได้รับการบรรจุเป็นนายตำรวจสัญญาบัตรของสานักงานตารวจแห่งชาติ ได้รับเงินเดือน และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) รวม 15,000 บาท

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

เป็นสถาบันผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักของ กองทัพอากาศ ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถด้านวิชาการในระดับอุดมศึกษา ความรู้ความสามารถ ในวิชาทหาร คุณลักษณะผู้นาทหารและคุณธรรม จริยธรรม มีความสานึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ เทิดทูน และยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

หลักสูตรการศึกษาเป็นไปตามที่ โรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราชกาหนด มีสาขาวิชาให้เลือกศึกษา ได้แก่ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน สาขา วิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขา คอมพิวเตอร์ และสาขาวัสดุศาสตร์ทางการทหารและอากาศยาน ตามที่กองทัพอากาศกาหนดในแต่ละ ปีการศึกษา

เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรให้มียศเป็น ว่าที่เรืออากาศตรี และกองทัพอากาศจะแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ของกองทัพอากาศต่อไป

นักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) ที่สาเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร จะได้ เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้

ขณะเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ

1. ไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้านการศึกษา อาหาร เครื่องแต่งกาย ที่พัก ได้รับเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือน ประจำ จำนวน 3,070 - 5,340 บาท ตามชั้นปีและหน้าที่บังคับบัญชา

2. นักเรียนชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการศึกษาดี มีสิทธิ์สอบคัดเลือกไปศึกษาในสถาบันทหารหรือ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ปีละ 9 - 10 ทุน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ เหนือ สาธารณรัฐเกาหลี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และราชอาณาจักรสเปน

3. ตามหลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กำหนดให้ นักเรียนทุกคนได้ฝึก เดินอากาศและดูงาน ณ ต่างประเทศ รวมทั้งฝึกบินกับเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศ

4. มีโครงการแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างโรงเรียนทหารต่างประเทศ

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

1. ได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต

2. ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งยศเป็นว่าที่เรืออากาศตรี ได้รับเงินเดือนไม่น้อยกว่า 16,550 บาท

3. ผู้ที่จบหลักสูตรด้านการบินจากโรงเรียนการบิน จะได้รับเงินค่าฝ่าอันตรายเดือนละ 13,200 บาท และเงินเพิ่มพิเศษ สำหรับผู้บังคับอากาศยาน เดือนละ 15,000 บาท เพิ่มจากเงินเดือนประจำ

4. ผู้ที่มีการศึกษาดี มีสิทธิ์สมัครสอบคัดเลือกทุนกองทัพอากาศ เพื่อไปศึกษาในระดับ ปริญญาโท และเอก ณ ต่างประเทศ

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิชาชีพตำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรในวิชาชีพตำรวจ ตวามความต้องหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้การศึกษาส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพขั้นสูง ทำการสอน การวิจัย การฝึกอบรม และการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม โดยเน้นทักษะความเชี่ยวชาญด้านการบังคับใช้กฎหมาย และวิชาชีพตำรวจเป็นสำคัญ มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียน การศึกษา อบรม และดำเนินการฝึกนักเรียนนายร้อยตำรวจให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในวิชาการตำรวจ และการบริหารงานตำรวจอย่างแท้จริง มีความรู้ ความเข้าใจในด้านกฎหมายสำหรับการปฏิบัติงานตำรวจอย่างลึกซึ้ง และมีความรอบรู้ในแขนงวิชาการชั้นอุดมศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาชีวิต และเอื้ออำนวยต่อการนำไปประกอบวิชาชีพตำรวจ

รวมทั้งการหล่อหลอม ให้มีคุณลักษณะทางกาย และคุณธรรมประจำใจ เป็นผู้ที่มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ มีบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย กล้าหาญ อดทน เชื่อมั่นในตนเอง มีวิจารณญาณในการตัดสินใจที่ถูกต้อง ยึดถือหลักศีลธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพตำรวจ เป็นแนวทางในการประพฤติและปฏิบัติงาน สืบทอดแบบธรรมเนียมของตำรวจด้วยความสำนึกในเกียรติวินัย และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต พร้อมที่จะเสียสละเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม และยึดมั่นในการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยของสังคม ด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีหลักสูตรการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว นักเรียนนายร้อยตำรวจจะได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต รป.บ. (ตร.) ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้มียศเป็น ว่าที่ ร้อยตำรวจตรี และสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไป . ทั้งนี้ โรงเรียนนายร้อยตำรวจจะรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลภายนอกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยเฉพาะ ตามจำนวนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอนุมัติ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามหลักสูตรที่กำหนดต่อไป

Card image cap

THAI CADET

 

© 2547-2567. All Right Reserved by THAI CADET   TEL./LINE : 0959429193

Made with Pingendo Free  Pingendo logo