ปฏิบัติการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ข้ามชาติ : ปฏิบัติการนี้เพื่อใคร ? ประชุมคณะที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรมทางการวิจัย วิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ครั้งที่ 1 /2544 *** หากจะกล่าวว่าโครงการจีโนมมนุษย์ (Human Genome Project) เป็นโครงการวิจัยที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด เกี่ยวข้องกับธุรกิจมูลค่ามหาศาล และจะมีผลกระทบรุนแรงมากที่สุดต่อมวลมนุษยชาติ ในบรรดาโครงการในโลกเทคโนโลยีชีวภาพก็เห็นจะไม่ผิดนัก โครงการจีโนมมนุษย์เป็นโครงการ "ปฏิบัติการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์" เป็นปฏิบัติการค้นหาว่ายีนของมนุษย์ที่มีอยู่มากมายถึง 50,000-130,000 ยีนนั้นทำหน้าที่อะไรกันบ้าง ในธรรมชาติยีนมีหน้าที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมมนุษย์ ยีนเป็นผู้สร้างให้เป็นตัวมนุษย์ขึ้นมา "ปฏิบัติการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์" จึงเปรียบเสมือนการทำ ความรู้จักกับเครื่องจักรที่ผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่ามนุษย์ จากการมองด้วยสายตาของนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทำให้แปลความหมายได้โดยไม่ยาก เลยว่า ถ้าเราสามารถควบคุมการทำงานของเครื่องจักรที่ว่านี้ได้แล้วละก็ เราก็สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ แบบไหนๆที่เราต้องการได้ทั้งนั้น ด้วยเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมมนุษย์ เราจะสามารถสร้างมนุษย์ที่เป็น "มนุษย์พันธุ์วิเศษ" ที่มีร่างกายแข็งแรง กำยำล่ำสัน ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มี IQ สูง หรือมีลักษณะอะไร ๆ ก็ได้ ตามที่"ต้องการ" ในทางตรงกันข้ามความรู้ด้านพันธุกรรมมนุษย์ก็สามารถ "จำกัด" และ"กำจัด" มนุษย์สายพันธุ์ที่ไม่เป็นที่ต้องการได้เช่นกัน ความคิดที่ว่ายีนเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างใน ความเป็นมนุษย์ (genetic determinism) เป็นความเชื่อที่มีพื้นฐานมาจากหลักฐานความจริงทาง วิทยาศาสตร์ เพราะยิ่งศึกษาลึกซึ้งมากขึ้นเท่าใดนักวิทยาศาสตร์ก็ยิ่งค้นพบสิ่งเร้นลับอันเป็นพลัง อันมหาศาลของยีน ยีนเป็นสิ่งที่ควบคุมให้เกิดทุกอย่างที่ประกอบขึ้นมาเป็นร่างกายมนุษย์ รวมทั้ง สาเหตุของความเสื่อมของร่างกายมนุษย์ด้วย คนทุกคนย่อมมีความหวังว่าตนเองจะเป็นคนที่แข็งแรง ไม่ป่วยเป็นโรคใดๆ หรือถ้าป่วยก็อยากรักษาให้หายได้ง่ายๆ ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานไปกับความเจ็บป่วย ไปนานๆ ความฝันนี้จะเข้าไปใกล้ความจริงได้ก็ด้วยเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมมนุษย์นั่นเอง ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างค้นคว้ากันอย่างมุ่งมั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำไปสู่ผลทาง การแพทย์ในการรักษาโรคในมนุษย์ให้ได้ การรักษาโรคในปัจจุบันเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ การรักษา ด้วยยีน (gene therapy) ต่างหากที่เป็นการตัดต้นตอของโรคภัยทั้งปวง คนคนนั้นจะไม่เป็นโรคนั้นเลย ปัจจุบันเริ่มมีการค้นพบวิธีทำนายแนวโน้มการเกิดโรคต่างๆ ได้แล้ว มีการสร้างยีนใหม่ๆเพื่อรักษาโรค รวมทั้งการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่าของร่างกายในอวัยวะต่างๆที่เสื่อมสภาพไป จากการที่เราได้ยินได้ฟังความสำเร็จที่มีออกมาเรื่อย ๆ จากวงการวิทยาศาสตร์ ดูอย่างนี้ ราวประหนึ่งว่าเรามองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อยู่ลิบ ๆ ปลายอุโมงค์ที่เราอยากไปยืนอยู่คือ การมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ หรือสูงถึงขนาดที่มีชีวิตอมตะชั่วนิรันดร์ โลกที่จะถูก สถาปนาใหม่จากน้ำมือของนักพันธุศาสตร์นั้นจะเป็นอย่างไรสุดจะหยั่งเดาได้ แต่ที่แน่ ๆ คือ ระหว่างทางเดินที่เดินไปนั้น จะเต็มไปด้วยขวากหนามอันแหลมคม การกีดกัน การแบ่งชนชั้น ย่อมเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ การจำกัด และการเอาเปรียบบุคคลบางกลุ่มในสังคม โดยถือเอา พันธุกรรมของคน ๆ นั้นเป็นเกณฑ์ (genetic discrimination)ย่อมเกิดขึ้น คนรวยและผู้อยู่ในวงการ ย่อมเอื้อมมือถึงเทคโนโลยีขั้นสูงนี้ได้ก่อนใคร ความเหลื่อมล้ำและช่องว่าง ในสังคมดูเหมือนก็จะ ยิ่งห่างออกไปเรื่อย ๆ ปัญหาทางจริยธรรมจะรุนแรงและบั่นทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลงไปเรื่อย ๆ มนุษย์จะกลายเป็นเพียง "ผลผลิต" จากการกระทำของเทคโนโลยี กระโดดเกาะจรวดสายเทคโนโลยี โครงการจีโนมมนุษย์นั้นมีผู้กล่าวกันว่าเป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้แก่มวลมนุษยชาติ เริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา และต่อมาบริษัทยักษ์ใหญ่ เซเลร่า จีโนมิกส์ ได้เข้ามาบริหารจัดการและได้ขยายไปเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ ที่ไม่อยากหลุดจากจรวดเทคโนโลยีนี้ก็พยายามกระโดดเกาะติดไปด้วยโดยการเข้าร่วม โครงการและร่วมทำงานวิจัย ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเข้าถึงฐานข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ของโลกได้ ประเทศจีน ทุ่มเทกำลังอย่างเต็มที่ไปกับโครงการนี้และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของโครงการด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น เราไม่ได้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่แรก ตอนนี้ก็ช้าไปเสียแล้ว ขณะนี้โครงการเหลืองานอีกเพียงไม่ถึง 5 % ก็จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ก็เริ่มนำมาใช้ประโยชน์กับประเทศที่เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับไทยเราคงเป็นเพียงผู้ตามและคอยรับฟังข่าวสารเท่านั้น แต่ไม่ว่าเหตุผลหรือข้อจำกัดในอดีต เป็นอย่างไร เรายังมีความหวังว่าเรายังมีโอกาสที่จะเกาะติดสถานการณ์เทคโนโลยีด้านพันธุกรรมชุดใหม่ ๆ ได้ เช่น โครงการ post-genomics (ผลการศึกษาการทำงานของยีน) หรือ Bioinformatics (การสร้างฐาน ข้อมูลชีววิทยา) ซึ่งไทยมีศักยภาพที่จะเรียนรู้และสร้างความรู้ในระดับนานาชาติได้เช่นกัน ปฏิบัติการนี้เพื่อใคร? โทนี แบลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกัน ประกาศความสำเร็จของโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้และได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าผลประโยชน์ ของโครงการนี้จะเป็นไปเพื่อมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง คำกล่าวนี้จะเป็นจริงหรือไม่? เพียงใด? คุณคิดว่า อำนาจที่แท้จริงจะตกอยู่ในมือผู้ใดบ้าง ? ใครเล่าเป็นผู้ควบคุมปฏิบัติการอันยิ่งใหญ่นี้ ? หากจะบอกว่า ผู้ครองเทคโนโลยีนี้คือนักพันธุศาสตร์ก็คงจะได้ ฟังดูอหังการณ์และท้าทายความรู้สึกไม่น้อยเลย แต่เราต้องยอมรับว่าสิ่งนี้เป็นความจริง พวกเขาเป็นผู้สร้างและครอบครองความรู้ และพวกเขานี่แหละ จะเป็นผู้ใช้ความรู้นั้นเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่พวกเา "คิดว่า" ควรจะเป็น ดังนั้นกลไกทางสังคมไม่ว่า จะเป็นความรับรู้ร่วมกัน กฎหมายและจริยธรรมในจิตใจของนักวิทยาศาสตร์ จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราวางใจ ได้สนิทว่าคนเหล่านี้จะเดินไปในทิศทางที่เราเห็นด้วย ไม่เช่นนั้นโลกเราคงเต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเขา "คิดว่าดี" แต่เป็นสิ่งที่พวกเราไม่ได้ต้องการเลยก็เป็นได้ ฟังนักคิด ผู้รู้ให้ความเห็น ศ. นพ. ประเวศ วะสี การเปลี่ยนแปลงเป็นกฎธรรมชาติ เมื่อความจริงเปลี่ยนไปเราก็ต้องปรับตัว ประชากร เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง ระบาดวิทยาเปลี่ยนแปลง การเมืองเปลี่ยนแปลง การเงิน เปลี่ยนแปลงไปหมด เราก็ต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลงไปด้วย เหมือนเด็กเปลี่ยนไปเป็นผู้ใหญ่ การประชุม ผ่าโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข, ตลาดนัดสุขภาพ ดร. อัมมาร์ สยามวาลา "เมื่อความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ถูกดัดแปลงไปสู่เทคโนโลยี ประเมินได้เลยว่ามันจะเปลี่ยน คุณค่าของบางอย่างไปจากขายไม่ได้เป็นขายได้ เช่น เลือดเมื่อก่อนไม่มีคุณค่าแต่เดี๋ยวนี้มีแล้ว เทคโนโลยีการวิจัยที่เรากำลังพูดถึงอยู่ มันจะเปลี่ยนคุณค่าทางเศรษฐกิจของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น stem cell ไปจนกระทั่งเป็น ฟาร์มเลี้ยง stem cell เป็นไปได้หรือไม่ ฉะนั้นต้องมีมาตรฐาน จริยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งว่าเราไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างกายมนุษย์เป็นเครื่องมือ ไม่ว่ทางวิทยาศาสตร์ หรือทางการค้า ประชุมคณะที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรมทางการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ครั้งที่ 1 /2544 ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ครั้งสุดท้ายที่การให้ความสำคัญกับยีน ทำให้เกิดปัญหาในโลกขึ้น คือ สมัยนาซี ยุคนั้น ใช้เงื่อนไขบางอย่างเพื่อที่จะบอกว่าคนบางส่วนด้อยกว่าคนบางส่วน สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนยิวถูกรัฐ ละเมิดให้ตายบนพื้นฐานที่ว่า มียีนผิด ประชุมคณะที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรมทางการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ครั้งที่ 1 /2544 ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เรื่องการตรวจโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย เราก็ยังบอกไม่ได้หมดว่า ถ้าเจอแล้ว ควรทำอย่างไรต่อ เพราะไม่ได้หมายความว่าธาลัสซีเมียเป็นยีนที่ไม่ดี แต่ธรรมชาติกำหนดให้ คนจำนวนหนึ่งในแถบประเทศเรามียีนธาลัสซีเมียเพราะคนมียีนนี้มันต่อสู้กับโรคมาลาเรียได้ดี *** ที่มา : http://www.thainhf.org/html/modules.php?name=News&file=article&sid=32