ข้อมูลพันธุกรรมกับผลกระทบต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคล รศ. ดร. จักรกฤษณ์ ควรพจน์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช *** สิทธิในความเป็นส่วนตัว (right to privacy) สิทธิในความเป็นส่วนตัว (right to privacy) หมายถึงสิทธิของบุคคลใคบุคคลหนึ่ง ที่จะทำการใด ๆ ได้ โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก รวมทั้งการปลอดจากการสอดส่อง เฝ้ามองจากสังคมหรือบุคคลอื่น สิทธิในความเป็นส่วนตัวยังรวมถึงสิทธิที่จะมีความลับ (secret) ในการดำเนินชีวิตของบุคคลด้วย ในการศึกษาหรือเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากข้อมูลพันธุกรรม มีประเด็นปัญหาสำคัญคือ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพราะเนื่องจากในการศึกษาหรือเผยแพร่ ข้อมูลทางพันธุกรรมของบุคคลคนหนึ่งมิได้มีผลกระทบเพียงบุคคลคนนั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล ที่เกี่ยวข้องและเครือญาติร่วมสายโลหิตอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีแนวโน้ม ที่จะนำข้อมูลพันธุกรรมมาใช้ในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น ปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงมากขึ้น บุคคลที่อยู่ในข่ายที่อาจถูกละเมิดสิทธิจะมีวิธีปกป้องสิทธิของตนอย่างไร ความหมายของข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับบุคคลที่สามารถบ่งระบุได้ ซึ่งได้มาจากการแสดงออก การไม่แสดงออก การเปลี่ยนแปลง หรือการกลายของยีนใดยีนหนึ่งหรือหลายยีน หรือการแสดงออกหรือไม่แสดงออก ของดีเอ็นเอเครื่องหมาย ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของบุคคลนั้น หรือจากดีเอ็นเอของบุคคล ที่บุคคลนั้นมีความเกี่ยวพันในทางพันธุกรรม ประเด็นที่นำมาพิจารณามีดังนี้ ๑. ผลกระทบต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลจากการใช้ประโยชน์จากวัตถุชีวภาพ (วัตถุชีวภาพ คือชิ้นส่วนเนื้อเยื่อหรือเซลล์ซึ่งมีข้อมูลพันธุกรรมบรรจุอยู่) ปัญหาของการละเมิดสิทธิ ของวัตถุ ชีวภาพแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ๑.๑ ปัญหาของการละเมิดสิทธิของวัตถุชีวภาพจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อจากคนที่ยังมีชีวิต อยู่ตามหลักกฎหมายจะแบ่งสิ่งต่างๆออกเป็น ๒ ประเภท คือ บุคคล (persons) กับสิ่งของ / ทรัพย์สิน (things) ซึ่งตามกฎหมายสามารถซื้อขายทรัพย์สินหรือ สิ่งของได้ ชิ้นส่วนหรืออวัยวะที่ติดกับร่างกายถือเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลนั้น ชิ้นส่วนที่หลุดออกจากร่างกายตามกฎหมายถือเป็นทรัพย์สินของบุคคลนั้น นอกจากบุคคลนั้นจะสละสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ กฎหมายต่างประเทศระบุไว้ว่า ชิ้นส่วนของบุคคลไม่สามารถซื้อขายได้ไม่ว่าจะหลุดออกจากร่างกายหรือไม่ ไม่สามารถซื้อขายได้แม้ว่าเจ้าตัวยินดีขายด้วยความเต็มใจก็ตาม เป็นทรัพย์ ลักษณะพิเศษที่ห้ามใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Quasi property) Quasi property เป็นหลักคิดที่มีการนำหลักจริยธรรมมาร่วมตัดสินด้วย ข้อดีของ Quasi property ก็คือ บุคคลสามารถปกป้องสิทธิ์ของบุคคลต่อการ เป็นเจ้าของชิ้นส่วนและสามารถป้องกันการซื้อขายอวัยวะที่อาจเกิดขึ้นโดยเต็มใจ หรือไม่เต็มใจก็ตาม แต่ข้อด้อยของกฎดังกล่าวก็คือ ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหา การขาดแคลนอวัยวะได้ ต้องรอเพียงการบริจาคเท่านั้น และจะทำให้การศึกษา วิจัยเกี่ยวกับพันธุศาสตร์มนุษย์เป็นไปได้ยาก ตัวอย่างคำถามที่อาจใช้นำการอภิปราย ได้แก่ - ถ้าโรงพยาบาล แพทย์ หรือนักวิจัยได้วัตถุชีวภาพ (เช่น เลือด เซลล์สมอง หรือ ไขกระดูก) ซึ่งเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อจากคนไข้ที่มารับการรักษาแต่ได้กลับ ออกไปจากโรงพยาบาลแล้ว ควรมีการขออนุญาตหรือไม่? ควรทำด้วยวิธีใด? หากตามหาตัวไม่พบจะสามารถนำวัตถุชีวภาพนั้นไปใช้ในการศึกษาได้หรือไม่ ๑.๒ ปัญหาของการละเมิดสิทธิ์ของวัตถุชีวภาพจากเซลล์สืบพันธุ์หรือตัวอ่อนที่ได้จากบุคคล ที่มีการผสมแล้วสถานะของวัตถุชีวภาพจากเซลล์สืบพันธุ์หรือตัวอ่อนที่ได้จาก บุคคลที่มีการผสมแล้ว - ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์ที่ยังไม่ได้ผสม ถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายบุคคลนั้น - ไข่ที่ผสมแล้วหรือตัวอ่อน ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งต่างหากจากมารดา - ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์ที่แยกจากร่างกายอย่างถาวร นับเป็น quasi-property ของมารดาทางพันธุกรรม (และ/หรือ บิดาทางพันธุกรรม) กรณีเซลล์สืบพันธุ์หรือตัวอ่อนที่ได้ที่มีการผสมแล้ว ตามกฎหมายเมื่อเกิดการปฏิสนธิ จะถือว่าเซลล์หรือตัวอ่อนนั้น ๆ จะมีสิทธิส่วนบุคคลผู้ที่ทำร้ายเซลล์สืบพันธุ์หรือตัวอ่อนที่ได้มี การผสมถือว่ามีความผิดไม่แตกต่างการทำร้ายบุคคลที่มีชีวิตแล้ว ในปัจจุบันวิทยาการเกี่ยวกับ การช่วยให้มีบุตรจะมีการเก็บตัวอ่อนไว้ซึ่งตัวอ่อนดังกล่าวทางกฎหมายจะใช้กฎ Quasi property ในการควบคุม กล่าวคือผู้ที่เป็นมารดามีสิทธิ์ในตัวอ่อนนี้ได้แต่ห้ามการซื้อขาย ตัวอย่างคำถามที่อาจใช้นำการอภิปราย ได้แก่ - หากยึดหลักนี้ ในกรณีที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการใช้ตัวอ่อนเพื่อการวิจัย ควรทำอย่างไร? การใช้ตัวอ่อนมาศึกษาจะถือว่าเป็นการฆ่าชีวิต ใช่หรือไม่? หากเป็นเช่นนี้จะมีพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร? 1.1 ปัญหาของการละเมิดสิทธิ์ของวัตถุชีวภาพจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อจากคนที่ เสียชีวิตแล้ว(ศพ)ตามหลักกฎหมายบุคคลหนึ่งๆสามารถระบุวิธีการ จัดการกับศพของตัวเองก่อนเสียชีวิตได้ เช่น แสดงเจตนาล่วงหน้า บริจาคศพหรืออวัยวะของตนหลังตายได้ ถ้าไม่มีการแสดงเจตนา (ฎ. ๑๑๗๔/๒๕๐๘ บุคคลอาจกำหนดวิธีจัดการศพของตนเองไว้ ก่อนตายได้) แต่หากไม่มีการแสดงเจตนาในการจัดการศพนั้น ศพจะถือเป็นสิทธิของทายาทในการตัดสินใจต่อการจัดการศพ ทายาทมีอำนาจในการจัดการศพและมีอำนาจเรียกศพคืนจากผู้ไม่มีสิทธิ ยึดถือ แต่ทายาทจะบริจาค ขาย หรือจำหน่าย ศพหรืออวัยวะที่ได้ จากศพมิได้ ตัวอย่างคำถามที่อาจใช้นำการอภิปราย ได้แก่ - หากมีการนำเซลล์ หรืออวัยวะของผู้ตายไปใช้ จะถือว่าเป็นผู้กระทำการดังกล่าว ละเมิดสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้ตายหรือไม่? - ใครจะเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากศพนั้นได้บ้าง เช่น ภรรยา สามี บุตร ญาติ? ๒. ผลกระทบต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรม โดยทั่วไป ข้อมูล (information) ไม่มีฐานะเป็นทรัพย์สินของบุคคล เนื่องจากมีความ เป็นไปได้ยากในทางกฎหมายที่จะทำการตรวจสอบ ควบคุมและห้ามปรามบุคคลใดที่จะนำข้อมูล ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ และเพื่อเป็นการป้องกันการผูกขาดข้อมูล ยกเว้น ข้อมูลทางเทคนิคที่มี ลักษณะตามกฎหมาย อาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) โดยสรุป กล่าวได้ว่า ข้อมูลมี ๒ ประเภทคือ ข้อมูลทั่วไปเป็นข้อมูลสาธารณะและข้อมูลทางเทคนิคที่อาจเป็นทรัพย์สิน ของบุคคล สำหรับข้อมูลพันธุกรรมนั้นยังคงเป็นคำถามว่าเป็นข้อมูลทั่วไปหรือเป็นข้อมูลทางเทคนิค ที่นักวิจัยสามารถถือสิทธิ์ครอบครองได้ ตามความเห็นของรศ.ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ เห็นว่า ไม่ควรมีบุคคลใดอ้างสิทธิ์เหนือข้อมูลพันธุกรรมได้เนื่องจากข้อมูลพันธุกรรมนั้นมีอยู่เอง ตามธรรมชาติ ไม่ได้มีผู้ใดทำการบันทึกขึ้น และการอ้างสิทธิในทรัพย์สินนั้นจะเป็นอุปสรรคต่อ ความก้าวหน้าทางวิชาการ นักวิจัยอาจจะสามารถอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในเทคนิคที่ตัวเองศึกษา หามาได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ กล่าวคือข้อมูลที่ต้องการถือสิทธิ์ครอบครองนั้นต้องเป็นข้อมูล ที่ผ่านกรรมวิธีการศึกษาทางเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ถ้าศึกษาหาลำดับเบส ไม่ใช่เพียง บอกลำดับหรือตำแหน่งแต่จะต้องบอกหน้าที่ด้วย และในประเทศที่ดำเนินการวิจัยอยู่นั้นต้องมี กฎหมายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วย ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมาย คุ้มครองสำหรับพวกจุลชีพเท่านั้น แต่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองสำหรับสิ่งมีชีวิตชั้นสูง จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นสามารถสรุปได้ว่า - บุคคลอาจอ้างสิทธิทางทรัพย์สินเหนือวัตถุทางชีวภาพของตนได้หรือคนอื่น - บุคคลไม่อาจอ้างสิทธิในทรัพย์สินเหนือข้อมูลพันธุกรรมที่เกี่ยวกับตน - นักวิจัยอาจอ้างสิทธิในทรัพย์สินเหนือข้อมูลพันธุกรรมที่มีลักษณะทางเทคนิค ถ้ากฎหมายของ ประเทศนั้นคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในสิ่งมีชีวิต ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวัตถุทางชีวภาพ - ควรมีการรับรองสิทธิในทรัพย์สินเหนือวัตถุทางชีวภาพ - การได้ไปซึ่งวัตถุทางชีวภาพต้องมีการยินยอมล่วงหน้า (informed consent) - เจ้าของอาจขอ ห้ามการใช้วัตถุทางชีวภาพโดยมิชอบ (injunction) - เจ้าของไม่มีสิทธิแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์จากวัตถุทางชีวภาพของตน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ - ข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์จะต้องถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับ - การเปิดเผยจะกระทำได้ในบางกรณีเท่านั้น เช่น public interest - การทดสอบพันธุกรรมบุคคลใดจะทำได้เฉพาะในกรณีที่เป็นคุณแก่บุคคลนั้นเท่านั้น - ห้ามทดสอบพันธุกรรมในกรณี ประกันชีวิต สมัครงาน การศึกษา ฯลฯ - ห้ามทดสอบพันธุกรรมผู้เยาว์ คนวิกลจริต โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจกระทำการแทน บุคคลดังกล่าว - บุคคลมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรมของตนได้ตลอดเวลา *** ที่มา : http://www.thainhf.org/Bioethics/article/data01.doc