จริยศาสตร์ชีวภาพจะเข้ามาเกี่ยวข้องในการให้เหตุผล โดยให้ทางเลือกของการตัดสินใจว่า ตัวผู้ป่วยเอง ญาติ หรือแพทย์เจ้าของไข้ หรือเหตุปัจจับอื่นใดที่จะนำมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าผู้ป่วยซึ่งมีอาการ อยู่ในขั้นโคม่า หรือใกล้ตาย มีสิทธิที่จะหยุดลมหายใจ (ตาย)
จริยศาสตร์ชีวภาพ (Bioethics) หากจะแปลตามศัพท์แล้ว คำว่า Bio คือ ชีว หรือชีวิต เพราะฉะนั้น จึงอาจนิยามได้ว่า จริยศาสตร์ชีวภาพ คือ จริยศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต อีกนัยหนึ่งคือ การพิจารณาเรื่องชีวภาพ (เรื่องที่เกิดขึ้นกับชีวิต) ในแง่มุมของจริยศาสตร์
การศึกษาจริยศาสตร์ชีวภาพเกิดขึ้นเพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพราะวิทย์ฯ ทำให้มนุษย์สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้นกว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการโคลนนิ่ง การทำแผนที่มนุษย์ ฯลฯ และจากความก้าวหน้าของวิทย์ฯ นี้เอง จึงทำให้คนต้องเผชิญกับปัญหาทางจริยธรรมมากขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยจริยศาสตร์เข้ามาช่วยในการพิจารณาประเด็นทาง จริยธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมด้วย
ในภาษาอังกฤษ คำว่า “จริยศาสตร์ชีวภาพ” มีชื่อเรียก 3 ชื่อ คือ
1. Bioethics
2. Medical Ethics
3. Biomedical Ethics
ซึ่งความหมายของทั้ง 3 ชื่อนี้มีความคาบเกี่ยวกันอยู่ ดังนั้น เวลานำไปใช้จึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นเชิง จริยศาสตร์ชีวภาพนั้น ๆ เน้นหนักไปทางด้านใด ทั้งนี้เพราะจริยศาสตร์ชีวภาพครอบคลุมถึงบุคคลากรทางการแพทย์ พยาบาล วิทยาศาสตร์การแพทย์ เภสัชกร การทดลองในมนุษย์ ชีววิทยา และนิเวศวิทยา (แต่อย่างไรก็ตามอาจมีผู้แย้งว่าจริยศาสตร์ชีวภาพไม่น่าจะครอบคลุม นิเวศวิทยา เพราะนิเวศวิทยาเป็นการศึกษาในเชิงจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม...แล้วท่านผู้อ่าน คิดยังงัยเอ่ย)
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา “เรื่องการทำให้ตายอย่างสงบ” (Mercy Killing or Euthanasis) ซึ่งเป็นข้อถกเถียงว่าใคร (หมอ ญาติ หรือตัวผู้ป่วย) ควรจะเป็นคนตัดสินให้ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวแล้ว หรือโคม่า (Coma) หยุดลมหายใจหรือจากโลกนี้ไป
เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เราจะพบเห็นภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่ไม่ รู้สึกตัวร่ำไห้ อาลัย อาวรณ์ กราบไหว้แพทย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยอย่างสุดความสามารถ โดยหวังเพียงเพื่อให้ได้ชีวิตของผู้ป่วยกลับคืนมาเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงว่าชีวิตที่กลับคืนมานั้นมีสภาพร่างการแบบใด และแท้จริงแล้วผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะใกล้ตายนั้นมีความต้องการเช่นไร ดังนั้น จึงเกิดข้อถกเถียงว่า ระหว่างการปล่อยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหลังจากที่แพทย์ได้ให้ความช่วยเหลือ อย่างสมศักดิ์ศรีแล้ว หรือการพยายามทอดระยะความตายออกไปให้นานที่สุดเท่าความสามารถของแพทย์ที่จะ กระทำได้
แต่อย่างไรก็ตาม มีคำถามที่ต้องขบคิดกันต่อไปว่า การกระทำดังกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่ และหากผู้ป่วยในภาวะเช่นนั้นมี "สติ" รับรู้ได้ แต่ไม่สามารถแสดงออกให้กับบุคคลรอบข้างรับรู้ได้ แล้วตัวผู้ป่วยเองจะยอมทรมานจากการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เข้ามาช่วย ชีวิต หรือผู้ป่วยจะยอมจากไปอย่างสงบ
ดังนั้น จริยศาสตร์ชีวภาพจะเข้ามาเกี่ยวข้องในการให้เหตุผล โดยให้ทางเลือกของการตัดสินใจว่า ตัวผู้ป่วยเอง ญาติ หรือแพทย์เจ้าของไข้ หรือเหตุปัจจับอื่นใดที่จะนำมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าผู้ป่วยซึ่งมีอาการ อยู่ในขั้นโคม่า หรือใกล้ตาย มีสิทธิที่จะหยุดลมหายใจ (ตาย).
--
ที่มา : Lecture วิชาจริยศาสตร์ชีวภาพ, 23/6/2543, 20/6/2543