ประวัติศากยะวงศ์ในประเทศเนปาล

ในบรรดาแขวงนั้นมีแขวงหนึ่งชื่อว่า "สักกะ" อันเป็นแขวงที่อยู่ตอนเหนือของชมพูทวีป คือเรียกกันว่าป่าหิมพานต์หรือหิมวันตะประเทศ ในประเทศนั้นมีนครหนึ่งมีชื่อว่า นครกบิลพัสดุ์ อันเป็นที่รู้จักกันดีในเหล่าพุทธศาสนิกชน ว่า เป็นดินแดนของพระพุทธบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนา ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนออกบวชเพื่อแสวงหาสัมมาสัมโพธิญาณ สถานที่ที่กล่าวนี้อยู่ในอาณาบริเวณของประเทศเนปาลปัจจุบัน
  

พระสุชน สุชโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  
*** ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม เอกสารประกอบการสนทนาในรายการ ธรรมกับนานาชาติของมหาจุฬาฯ ที่สถานีวิทยุ AM 936 เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๓ 

บทนำ

การศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา คนส่วนใหญ่ก็ต้องนึกถึงประเทศอินเดียเป็นประเทศแรกก่อนในฐานะเป็นดินแดนของพระพุทธเจ้า มีคนจำนวนน้อยที่จะนึกถึงประเทศเนปาล อันเป็นประเทศที่มีสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เช่นสถานที่ประสูติ เทวทหะ เป็นต้น ที่จริงตามภูมิศาสตร์สมัยพุทธกาลยังไม่มีทั้งชื่อประเทศเนปาลและอินเดีย คงมีอยู่เพียง "ชมพูทวีป" เท่านั้น ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่มาก ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของพระพุทธศาสนาจะเห็นว่า อันว่าชมพูทวีปนั้นแบ่งเป็น ๑๖ แคว้น เป็นแคว้นต่างๆที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น และมีอีกแคว้นที่ได้ปรากฏในพระบาลีแห่งสูตร อื่นๆมีอยู่ ๕ แค้วนด้วยกัน ในบรรดาแขวงนั้นมีแขวงหนึ่งชื่อว่า "สักกะ" อันเป็นแขวงที่อยู่ตอนเหนือของชมพูทวีป คือเรียกกันว่าป่าหิมพานต์หรือหิมวันตะประเทศ ในประเทศนั้นมีนครหนึ่งมีชื่อว่า นครกบิลพัสดุ์ อันเป็นที่รู้จักกันดีในเหล่าพุทธศาสนิกชน ว่า เป็นดินแดนของพระพุทธบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนา ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนออกบวชเพื่อแสวงหาสัมมาสัมโพธิญาณ สถานที่ที่กล่าวนี้อยู่ในอาณาบริเวณของประเทศเนปาลปัจจุบัน

ประวัติความเป็นของศากยะ

สมัยก่อนพุทธกาลมีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระเจ้าโอกกากราช ผู้เป็นต้นกำเนิดของตระกูลศากยะ ครองราชสมบัติอยู่แถบภูเขาหิมาลัย พระองค์มี พระมเหสี ๕ พระองค์ด้วยกัน ในบรรดาพระมเหสีเหล่านั้นพระอัครมเหสีมีพระนามว่า พระนางหรรษาเทวี ทรงได้มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๙ พระองค์ด้วยกัน คือ มีเจ้าชาย ๔ พระองค์ และมีเจ้าหญิง ๕ พระองค์ ซึ่งมีพระนามที่ปรากฏอยู่ตามประวัติศาสตร์มีดังต่อไปนี้ [๑]

๑. เจ้าชายโอกกากะ ๑. เจ้าหญิงปิยา
๒. เจ้าชายกรัณฑะ ๒. เจ้าหญิงสุปิยา
๓. เจ้าชายหัตถินิเกสิ ๓. เจ้าหญิงอานันทา
๔. เจ้าชายนิรุปะ ๔. เจ้าหญิงวิชิตา
๕. เจ้าหญิงเสนา

หลังจากพระมเหสิสิ้นพระชนม์แล้วพระมหากษัตริย์ได้อภิเศกสมรสกับพระมเหสีองค์ใหม่ ต่อมาไม่นานพระมเหสีองค์ใหม่ก็ได้ประสูติพระราชบุตรองค์หนึ่ง พระเจ้าโอกกากราชทรงพระปราโมทย์มาก พระองค์ได้พระราชทานพระพรให้พระนางเจ้าเลือกสิ่งที่ประสงค์ พระนางจึงทูลขอราชสมบัติให้แก่พระโอรสของตน เนื่องจากว่าท่านได้สั่นพระวาจาแล้ว จะไม่พระราชทานก็เสียสัตย์จึงให้พระราชโอรสกับพระราชธิดาทั้ง ๙ พระองค์อันเกิดจากพระมเหสีเก่าให้ไปสร้างพระนครใหม่ที่อื่นแทน

เจ้าศากยะกับสิตธัตถะกุมาร

เมื่อเห็นความประสงค์ของพระราชบิดา พระราชบุตรและธิดาก็บังคมลาพระราชบิดาแล้วได้ยกจตุรคินีเสนาออกจากพระนครเดินทางไปที่อย่างทิศตะวันออกแถบภูเขาหิมพานต์ พระองค์ทั้งหลายก็ได้ไปสร้างพระนครในดงไม้สักกะ อันเป็นสถานที่ ณ ของฤษีกบิลดาบส จึงได้ตั้งชื่อว่า นครกบิลพัสดุ์ และพระราชบุตรและราชบุตรี ๘ พระองค์ได้อภิเษกสมรสซึ่งกันและกันในนครกบิลพัสดุ์ จัดเป็นต้นวงศ์ศากยะ [๒]ซึ่ง ณ สถานที่แห่งนั้นอยู่ในดินแดนของประเทศเนปาลในปัจจุบัน ตั้งแต่บัตนั้นมาพระมหากษัตริย์แห่งตระกูลศากยวงศ์ได้เสวยราชสมบัติมาจนถึงสมัยพระมหากษัตริย์มีชื่อว่าพระเจ้าสุทโธทนา ซึ่งเป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิตธัตถะ ซึ่งต่อมาเป็นสัมมาสัมพระพุทธเจ้าและเป็นศาสดาเอกของพระพุทธศาสนาหรือว่า เป็นศาสดาแห่งพระสัจจะธรรม และทรงประกาศพระพุทธศาสนาให้แก่ชาวโลก

เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ วันเพ็ญเดือนหก วันวิสาขบูชา ณ ส่วนลุมพินี พระองค์มีสติปัญญาล้ำเลิศจนได้ฌานที่ ๑ ตั้งแต่เด็ก แล้วเมื่อได้อายุ ๑๖ พรรษาทรงได้อภิเษกสมรสกับนางพิมพา ต่อมาได้มีบุตรคนหนึ่งชื่อว่าราหุล จากนั้นพระองค์ก็ได้สละโลกภายนอกออกบวช เพื่อแสวงหาสัจจะธรรมที่แท้ คือการแก็ปัญหาของทุกข์ เมื่อพระองค์ได้เพียรพยายามมาเป็นเวลา ๖ ปี พระองค์ก็ได้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าและทรงได้สั่งสอนพระธรรมให้แก่ชาวโลกถึง ๘๐ ปี และได้ดับขันธปรินิพพาน แม้พระองค์ได้ปรินิพพานไปแล้วถึง ๒๕๔๖ ปีก็ตาม แต่หลักคำสอนที่ท่านสอนนั้นยังมีอยู่กับชาวโลก เพื่อเป็นเครื่องมือในการขจัดกิเลสของเรา

สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิตธัตถะนั้นไม่มีใครปฏิเสธเพราะ นอกจากตามประวัติศาสตร์แล้ว ณ สถานที่นั้นเสาหินของพระเจ้าโอศกมีจารึกไว้ในแถวที่สองว่า [๓] "หิท พุเธ ชาเต สากยมุนีติ" หมายความว่า ณ สถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติขององค์ศากยะองค์ ในที่นี้มีข้อสังเกตอยู่ว่า มีความเชื่อของชาวพุทธว่าในโลกนี้มีพระพุทธองค์เกิดขึ้นแล้วนับไม่ถ้วน แต่ทำไมพระเจ้าอโศกมหาราชจึงไม่ใช่คำว่าพระพุทธองค์อย่างเดียว พระองค์ใช้คำว่าศากยมุนี เพราะท่านให้เกีรยติกับตระกูลศากยะนั้นเอง อนึ่งสมัยก่อนของพระเจ้ากนิสกะก็ได้สร้างเหรียญเกิดขึ้นโดยมีชื่อว่า พุทโธ และสมัยพระเจ้ากนิสกะเองก็มีการจารึกในแผนหินว่า สกกมุนี ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการยกย่องพวกศากยะตระกูล คำจารึกเหล่านี้อีกมีมากมาย ณ สถานที่ต่าง ๆ ก่อน ค.ศ. ๒๕๐ มีกล่าวถึงเกี่ยวกับศากยะองค์และกล่าวถึงเกีรยติคุณของตระกูลศากยวงค์

ตระกุลศากยะกับประเทศเนปาล

ปัจจุบันนี้พิธีกรรมต่าง ๆในกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาลพวกศากยะตระกูลจะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมและถือว่าเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่กระทำมาแต่สมัยพุทธกาล อันเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดประยูรญาติในพรรษาที่ ๒ หลังการตรัสรู้ ณ กรุงกบิลพัสดุ์มีพวกชาวสักกา(ศากยะองค์)ทะย่อยออกไปบวชในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดีในหมู่พุทธบริษัท หมู่ตระกูลศากยะที่ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้วก็ได้ขยายออกไปประกาศพระพุทธศาสนาตามพระพุทธนโยบายที่ว่า จรถ ภิกขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกัมปายะ… แปลใจ ความว่าภิกษุทั้งหลายจงจารึกไปประกาศพระธรรมเพื่อประโยชน์และความสุขของหมู่ชม ในช่วงนั้นเองพวกศากยะองค์ที่เข้ามาบวชได้กระจ่ายประกาศพระศาสนาตามหมูบ้าน ตำบลต่างๆ และในการกระจ่ายครั้งนี้ชาวเนปาลมีความเชื่อว่ามีพระสงฆ์มาประกาศพระพุทธศาสนาในเนปาลด้วย (คำว่าเนปาลสมัยนั้นหมายเอากรุงกาฐมาณฑุในปัจจุบัน) ขณะเดี่ยวกันนั้นพระภิกษุศากยะองค์แห่งกบิลพัสดุ์เข้ามาในกรุงกาฐมาณฑุ การเดินทางของพระสงฆ์มายังกรุงนั้นมีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนามหายานชื่อว่า มูลสรวาสติวาทมีอยู่โดยพิสดารว่า มีพระสงฆ์หลายรูปได้มาประกาศพระพุทธศาสนาในเนปาลด้วยอาศัยผ่านพ่อค้าจากกรุงกบิลพัสดุ์ อนึ่งยังได้กล่าวไว้ว่า พระอานนท์ พุทธูปฏฐาก ก็ได้มาเยี่ยมญาติ ณ กรุงกาฐมาณฑุอีกด้วย และนิกายสรวาสติวาทินเชื่อว่า พระอานนท์เมื่อกลับไปแล้วได้กราบถูลให้พระภิกษุที่อยู่กรุงกาฐมาณฑุสวมใสร้องเท้าได้ เพราะเนปาลเป็นเมืองหนาว และพระองค์ก็ประทานอนุญัติให้ใส ซึ่งเป็นหลักฐานที่แม้จะขัดแย้งกันกับนิกายเถรวาาทก็ตาม ถือว่าเป็นหลักฐานชินสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการอผยพของพวกศากยะมายังกรุงกาฐมาณฑุอย่างแน่นอน [๔]

ชาวพุทธรู้กันดีในเรื่องที่ว่าพระเจ้าวิฑูฑพยกทัพไปตีกรุงกบิลพัสดุ์ หรือว่าทำลายตระกูลศากยะวงค์ ชาวกบิลพัสดุ์จำนวนมากได้หลบหนีออกนอกเมืองเป็นจำนวนมาก พวกเขาก็ได้หลบหนีไปยังจตุรทิศ ชาวศากยะปัจจุบันที่เนปาลเชื่อว่าสมัยนั้นพวกที่กระจายไปนั้นมีอีกส่วนหนึ่งก็ได้เข้าไปในนครกาฐมาณฑุ หลังจากที่ได้เข้าไปในเมืองแล้ว พวกเขาก็ได้สืบสานพระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น มีนักประวัติศาสตร์แห่งเนปาลท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า [๕]

"การที่มีวัฒนะธรรมประเพณีต่างๆ ก็เกิดขึ้นโดยพวกศากยะตระกุลที่เข้ามาอยู่ในกาฐมาณฑุ หลังจากที่ได้มีพวกศากยะองค์เข้ามาอยู่ก็มีพวกมัลละจากแคว้นมัลละก็ได้อพยพมาถึงในเมือง และมีพวกโกลิยะได้ติดตามเข้ามาในเมืองกาฐมาณฑุเนื่องจากว่าเป็นสถานที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นสถานที่สามารถประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องเดินทางไกลๆ" กรุงกาฐมาณฑุได้พบแผ่นหินที่จารึกไว้โดยอักษรภาษาลิจฉวี ซึ่งเป็นแผ่นจารึกหนึ่งในแผ่นหินที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเนปาล ไนแผนกล่าวถึงตระกุลศากยะวงค์ว่า พวกศากยะกับมัลละและโกลียะรวมสร้างวัดในทางพระพุทธศาสนา,ปางรูปของพระพุทธเจ้า,ปางรูปพระโพธิ์สัตว์และปางอีกมีมากมายเป็นต้น นอกจากนนั้นยังได้ถวายที่ดินให้แด่พระภิกษุผู้อาศัยอยู่ในเมืองกาฐมาณฑุ เพื่อเป็นการเลี้ยงชีพและประกาศพระศาสนา แล้วลูกศิษย์ประจำวัดได้ประณิบัตร ตั้งแต่เลี้ยงดูพระภิกษุถึงบำรุงวัดที่อยู่อาศัยเป็นประจำ

แผ่นหินที่มีจารึกไว้โดยอักษรลิจฉวิกล่าวถึง "ดนตรีต่างๆ เพื่อเป็นการสนุกสนานในเวลาวันงาน,ทำความสะอาดในวัดอารามต่างๆ,มีการถวายดอกไม้, มีการจุดธูปและงานต่างที่จะจัดขึ้นในเวลาใดเพื่อดำเนินงานให้สะดวกสร้างมูลนิธีไว้" แผ่หินที่จารึกไว้นั้นเป็นประมาณศตวรรษที่ ๑๒/๑๓ ตอนสมัยลิจฉวีในประเทศเนปาล

ปัจจุบันศากยะในกาฐมาณฑุ

ปัจจุบันก็ยังสามารถเห็นได้ในตามเมืองกาฐมาณฑุประเทศเนปาลว่า มีพวกศากยะมีอาศัยอยู่ตามใจกรุงและมีอิทธิพลมากในทางวัฒนธรรม และยังให้ชมดูศิลปะต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในตัวเมืองกาฐมาณฑุ ผลงานของศากยะภิกษุ หรือศากยะ นั้นมีเป็นจำนวนมาก เช่นลุ้วฮิติ (luwan hiti) หมายถึงเปรียบสะเหมือนท่อน้ำที่น้ำไหลออกมาเมื่อน้ำไหลออกมาจากก๊อกน้ำตามธรรมชาติ และนำไปใช้ตามต้องการซึ่งเป็นสร้างโดยหินอันเป็นศิลปะที่น่าชมน่าดู, วัดทางพระพุทธศาสนาที่งดงามเรียกว่า บาหาและบอหี (Baha, Bahi) และเจดีย์ เป็นต้น

การออกบวชในพระพุทธศาสนาของพวกศากยะวงค์นั้นก็กลายเป็นประเพณีมาแต่สมัยพุทธกาล จนถึงปัจจุบัน และยังปฏิบัติมายังต่อเนื่อง การออกบวชในพระพุทธศาสนาของพวกศากยะนั้นบวชแล้วไปอยู่ในที่วัดเป็นเวลาชั่วคราว (หลังจากทางการเมืองได้บีบบังคับให้พระสงฆ์ลาสิกขาช่วง และให้แต่งงาน ในปี ราว ค.ศ. ๘๐๐ การออกบวชของชาวศากยะก็เพียงเป็นพิธีกรรมที่กระทำชั่วขณะ หรือให้ลูกชายบวชเป็น ๓-๗ วัน เพื่อรักษาประเพณีเดิมเอาไว้) [๖] ผู้ที่บวชแล้วเรียกว่าบอนด๊อ (Banda = Vandya) [๗] การกระทำเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า ตระกูลศากยะวงศ์แตกต่างจากตระกูลอื่นๆที่มีอยู่ในเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล มีตระกูลเดียวที่ต้องออกบวชในพร ะพุทธศาสนาเรียกว่าบอนด๊อ(Banda) หมายถึงคนที่บวชแล้วและตระกูลศากยะธรรมดา คำว่าบอนด๊อนั้นมาจากคำว่า บอนเด (bhandya = Bhiksu, reverend, venerable) หรือ ภันเต ในภาษาบาลี

ความสืบต่อเนื่องกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันก็ดี ยอมหนีไม่พ้นที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในโลกนี้ ชั้นใดพวกศากยะก็หนีไม่พ้นจากกฏแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ พวกศากยะไม่สามารถเป็นพระภิกษุที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาเถรวาทได้ แทนที่จะพวกศากยะที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทก็กลายเป็นนิกายฝ่ายมหายานแบบวัชรยานไป นิกายวัชรยาน หรือ นิกายคุยหยานนี้เองที่พวกศากยะได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าไม่เป็นพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท แต่พวกเขาก็ใช้คำหน้าว่าศากยะภิกษุและศากยะปรโมอุบาสกเป็นต้น หมายถึงอุบาสกที่นับถือพระพุทธศาสนา บางคนก็ใช้คำว่าอุบาสกแห่งศากยะหรือศากยะอุบาสกเป็นต้น ปัจจุบันในเมืองกาฐมาณฑุมีวัดของนิกายนี้ไม่น้อยกว่า ๑๒๐,ในกรุงปาตานมีอยู่ประมาณ ๑๐๘ ,และในกรุงภักตปูระมีอยู่ประมาณ ๒๕ วัดทางพระพุทธศาสนา วัดของนิกายนี้เรียกว่า บาหา และบอหิ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ละวัดนั้นก็มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา บ้างวัดก็ทำพิธีกรรมทางศาสนาโดยเพฉาะของตระกุลวัชชราจารย์อย่างเดียว บ้างแห่งก็ทำกรรมทางของตระกุลศากยะองค์อย่างเดียวบ้างแห่งก็ทำรวมกัน ทำพิธีกรรมที่นี้หมายถึงวระฉุอิคุ(เป็นภาษาเนวารี)หมายความว่า การออกบวชในพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน เปรียบเหมื่อนกับทุกคนต้องบวชครั้งหนึ่งในชีวิตในทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเหมื่อนประเพณีเช่นใด พวกศากยะในเนปาลก็เช่นกัน พวกเขาต้องออกบวชครั้งหนึ่งในพระพุทธศาสนานั้นเรียกว่าวระฉุอิคุ หรือบวชเณรนั้นเอง ในที่นี้ผมขอใช้คำว่า การบวช ในการบวชของนิกายวัชรยานการใช้เครื่องบริขารต่าง ๆ นั้นไม่เหมือนกับทางนิกายเถรวาท เวลาบวชแท่นที่จะใช้ผ้าอันตรวาสกใช้ผ้าธรรมดาที่เป็นสีแดงอันเป็นผ้าที่พอจะนุ่งได้ แท่นจีวรใช้ผ้าที่เป็นสีเหลืองหรือแดงที่ห่มได้, ใช้แทนอังสาก็คือผ้าพื้นหนึ่งที่พอจะห่มได้หน้าหลัง ซึ้งเหมือนกับผ้าเช็ดตัว และบาตรเล็ก ๆ ทำด้วยธาตุทองเหลือง เวลาออกรับบิณฑบาทไม่น้อยกว่าบ้าน ๗ หลัง แต่ในการบิณฑบาตนั้นไม่เป็นอาหารที่สุกแล้ว ถวายเป็นอาหารแห้งและเงิน การบวชเช่นนี้มีการโกนหัวเหมือนกันแต่ไม่ต้องโกนคิ้ว และพิธีกรรมทางศาสนานั้นหมายความว่าที่นั้นก็จะรับศีล ๘ เหมือนกันแต่เป็นภาษาสันสกฤตและบ้างที่ก็แปลให้ฟังด้วย ถึงแม้ว่ารับศีล ๘ และอยู่ประมาณ ๓/๗ วันก็ตามหลังเทียงสามารถรับประทานอาหารได้ อีกอย่างหนึ่งการบวชเช่นนี้ถือว่าเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ในสังคมตน หากยังไม่ได้บวชไม่สามารถที่จะเข้ากับสังคมของตนได้ จึงพวกศากยะถือพิธีนี้เป็นเครื่องมือในการแสดงให้เห็นว่าตนเป็นสมาชิกของตระกูลศากยะด้วย

อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือช่วงเวลาที่ออกบวชอยู่นั้นไม่รับประทานเนื้อสัตว์, ปลา, ไข่ ,ไม่สวมร้องเท่าที่ทำจากหนังของสัตว์อื่นๆ และไม่แตะหมาเด็ดขาด แต่ในการบวชนั้นส่วนมากจะให้บวชตอนเป็นเด็กเดียงสาจึงไม่ควรที่จะห้ามถูกต้องผู้หญิงหลังจากบวชแล้วก็สวนมากจะอยู่กับพี่สาว และน้องสาวหรือว่าแม่เพราะถือว่าผู้หญิงเป็นผู้ดูแลบ้าน แม่และพี่สาวทั้งหลายก็สามารถอุ้มได้(เนื่องจากว่าบวชตอนเด็ก) หลังจากที่ได้บวชมาครอบกำหนดหรือว่า หลัง ๓ วันให้ลาสิกขา และให้ใส่เสื้อใหม่แบบเนปาลสะก่อนแล้วให้ใส่หมวก เวลาผู้ที่จะถวายเสื่อและหมวกนั้นต้องเป็นญาติที่เป็นฝ่ายแม่ คือว่าน้องชายหรือพี่ชายของแม่ ในตระกูลศากยะนั้นผู้ใดไม่บวชในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานตามประเพณี และอยู่เป็นคฤหัสถ์ ไม่สามารถรวมกันทำพิธีกรรมทางศาสนาได้ และถูกลายออกจากตระกูล แม้ใช้นามสกุลศากยะก็ถือว่าไม่เป็นศากยะ (Sakyas without Sakya) อันเป็นข้อบังคับที่ทำให้พวกศากยะสามารถเป็นตระกูลทางพระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนายังมั่นคงมานานได้โดยไม่ขาดต่อเนื่อง

ปัจจุบันในกาฐมาณฑุตระกุลศากยะส่วนมากจะทำพิธีกรรมทางศาสนาในประเพณีต่างๆ ให้แก่ประชากรชาวเนปาล นอกนั้นก็เป็นนักเขียน,นักวาดรูป,ช่างไม้,หัตถกรรม,สถาปัตยกรรมเป็นต้น ตระกูลศากยะในปัจจุบันมีอาชีพเป็นข้าราชการ, ช้างไม้, การแกะสลัก, ปันรูป, ช้างเหล็กเป็นต้น หัตถกรรมต่าง ๆ รูปแบบของก่อสร้างศิลปะและรูปวาดต่าง ๆ ส่วนมากเป็นผลงานของพวกศากยะ และพวกเขายังมีบทบาทมากในงานหัตถกรรมและสถาปัตยกรรม ๆ ที่งดงามของเนปาลที่กรุงลลีตปูร, กรุงภักตปูร, เมืองกาฐมาณฑุเป็นต้นอันเป็นศิลปะที่น่ายกย่องของศากยะวงค์

ประเพณีต่างๆที่น่าชมดูในเนปาลทางพระพุทธศาสนามีอยู่มากมายเช่น Gunla Dharma, BahalPuja, Panchadan, Nawadan, Samyak เป็นต้นซึ่งเป็นงานที่ชาวเมืองกาฐมาณฑุ, ลลีตปูร, ภักตปูร

สุดท้ายนี้ในประเทศเนปาลมีพระกุมารี (As living Goddess Kumari) รู้จักโดยนามว่าพระเเทพธิดาชีวิตหรือว่ารู้จักโดยราชกุมารีแห่งเมืองกาฐมาณฑุ (the Royal kumari of kathmandu ) ราชกุมารีที่นี้ไม่ได้หมายถึงธิดาของพระมหาราชา หาก หมายถึงเทพธิดาที่มีชีวิตซึ้งเป็นที่เคารพบูชาของชาวเนปาล ครอบครัวแห่งตัวกษัตริย์ก็ทรงเคารพนับถือเทพธิดาองค์นี้มาก เทพธิดานี้ก็ต้องมาจากตระกูลศากยาวงศ์ เป็นประเพณีที่นับถือกันมาแต่โบราณ

ดังนั้นตระกูลศากยะวงค์จึงเป็นตระกุลที่มีบทบาทมากในการสร้างศิลปะวัฒนธรรมของประเทศเนปาลและทางพระพุทธศาสนาด้วย ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน แม้การฟื้นฟู่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในเนปาลปัจจุบันก็มีบทบาทมาก มีพระสงฆ์ผู้มีความรู้และความสามารถในการประกาศพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทก็เป็นส่วนใหญ่มาจากตระกุลศากยะเช่นกัน จึงตระกุลศากยะนั้นไม่เป็นความสำคัญต่อพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน แต่ยังมีความสำคัญต่อทางศิลปะวัฒนธรรม วรรณกรรมและการฟื้นฟู่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทด้วย เรื่องเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพวกศากยะนั้นมีบทบาท และมีความสำคัญต่อประเทศเนปาลมาแต่สมัยพุทธกาลด้านค้าขาย ด้านการปกครอง ด้านวัฒนธรรมต่างๆ

อ้างอิงแทรก
[๑] ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย, พระอุดรคณาธิการ(ชวินทร์ สระคำ) พ.ศ.๒๕๓๔ มจร
[๒] พระเชฏฐภคินีได้เป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงเทวทหะ จัดเป็นต้นวงศ์โกลิยะ, ดู พุทธประวัติสังเขป, มหามกุฏฯ หน้า ๖
[๓] หนังสือภาษาเนวารีชื่อ ลุมพินีโก กาขะมา,พระภิกษุสุทัสสนะมหาเถระ,๑๙๙๘ หน้าที่ ๕๗
[๔] Bhuwan Lal Pradhan, Nepalama BaudhaDharma, หน้า ๔๓
[๕] Bhuwan Lal Pradhan, The Shakyas of Nepal, หน้า - ๒
[๖] พระอนิลมาน,ประวัติพระพุทศาศาสนาในประเทศเนปาล, หน้า ๑๓
[๗] Naresh man Bajracharya, Buddhism in Nepal, หน้า ๒๙

หนังสืออ้างอิง 

Bhikkhu Sudharsan mahasthvir, Baudda sanskriti, Srikirti Vihar Publication, New Nepal Press. Kathmandu, Nepal,1998.

Mr. Bhuwan lal Pradhan, Nepalama Bauddhadharama,Nepal Rajakiya pragya pratisthan Publication, Awart press. Kathmandu, Nepal,1988.

Mr. Bhuwan lal Pradhan, The shakyas of Nepal, Nagar Mandap Srikirti Vihar Publication, Asian continental Press. Kathmandu ,Nepal, 1985.

Min Bahadur Shakya, A short History of Buddhism in Nepal, Young Buddhist Publication. Lalitpur, Nepal, 1986.

Naresh Man Bajracharya, Buddhism in Nepal (465 B.C. to 1199 A.D.), Eastern Book linkers, Delhi, Sham Printing agency India, 1998

พระอุดรคณาธิการ(ชนินทร์ สระคำ), ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย,โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,กรุงเทพฯ 2534.

พระวิเทศโพธิคุณ(ว.ป.วีรยุทโธ), สู่แดนพระพุทธองค์ อนเดีย-เนปาล, พิมพ์โดย ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม,กรุงเทพฯ 2544

พระเทพวิสุทธิญาณ(อุบล นนฺทโก, พุทธประวัติสังเขปและศาสนาพิธีสังเขป, พิมพ์โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย,กรุงเทพฯ, ๒๕๓๖

A.Fuhrer, collected,compiled and Editedby Harihar raj joshi & Mrs indu Joshi, Antiquities of Buddha Sakyamuni's Birth-place in The Nepalese Terai, The Nepal studies: Past and Present Published, Kathmandu, Nepal, 1996.

Photo : https://pixabay.com/photos/street-road-people-crowd-buildings-5703332/

THAI CADET

 

© 2547-2567. จัดทำเป็นวิทยาทาน โดย THAI CADET

Made with Pingendo Free  Pingendo logo