การบูรณาการปรัชญากรีกกับศาสนาคริสเตียน

สิ่งที่นักบุญออกัสตินบูรณาการนั้น คือ การที่นักบุญออกัสตินนำความคิดทางปรัชญากับศาสนาคริสต์มาบูรณาการกัน โดยนำเอาวิธีการของปรัชญากรีกมาอธิบายศาสนาคริสต์ เพื่อให้เห็นว่าปรัชญากรีกกับศาสนาคริสต์นั้นไม่ขัดแย้งกันไปด้วยกันได้ ซึ่งนับว่าเป็นความชาญฉลาดของนักบุญออกัสตินอย่างมากที่รู้ว่าชาวกรีกกำลัง ยอมรับปรัชญากรีก ปรัชญากรีกมีอิทธิพลมาก นักบุญออกัสติน จึงได้พยายามทำให้เห็นว่าวิธีการของกรีกนำมาอธิบายศาสนาคริสต์ได้

ดวงเด่นฯ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจริยศาสตร์ศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สาเหตุของการบูรณาการปรัชญากรีกกับศาสนาคริสเตียน และลักษณะของการบูรณาการประเด็นสำคัญตามทรรศนะของนักบุญออกัสติน

การบูรณาการปรัชญากรีกกับศาสนาคริสต์เกิดขึ้นในช่วงจริยศาสตร์สมัยกลาง (Medival Ethics) ซึ่งเป็นช่วงที่คริสตศาสนาเริ่มต้นประกาศขึ้น และมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนในแถบยุโรป ในช่วงจริยศาสตร์สมัยกลางนั้นเป็นยุคที่ปรัชญากรีกกำลังเจริญรุ่งเรืองจน เป็นที่ยอมรับ และปรัชญากรีกนี้เองมีอิทธิพล อย่างมาก จึงทำให้ปรัชญากรีกมีอิทธิพลต่อความคิดของชาวกรีกในขณะนั้นด้วย แต่เนื่องจากมีคนไม่ยอมรับในศาสนาคริสต์ จึงเกิดข้อโต้แย้งที่ต่อศาสนาศาสนาคริสต์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงทำให้นักเทววิทยาคริสเตียนพยายามที่จะบูรณาการ ปรัชญากรีกเข้ากับศาสนาคริสต์

การบูรณาการโดยการนำเอาวิธีการของปรัชญากรีกมาอธิบายศาสนาคริสต์นั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าหลักคำสอนของศาสนาคริสต์กับปรัชญากรีกนั้นมิได้มีอะไรขัดแย้ง กัน หากแต่ยังสามารถไปด้วยกันได้ สำหรับสาเหตุของการบูรณาการปรัชญากรีกเข้ากับศาสนาคริสต์นั้นมีสาเหตุที่ สำคัญ 2 ประเด็นดังต่อไปนี้

1. สาเหตุภายนอก (External Cause) จาการที่ศาสนาคริสต์ถูกโต้แย้งจากพวกนอกศาสนา (พวกนักปรัชญาชาวกรีกที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์) เนื่องจากความรู้ของพวกนักปรัชญากรีกได้กล่าวถึงเฉพาะเนื้อหาทางปรัชญาที่ ว่าด้วยเหตุผล ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นเรื่องของศรัทธาและความเชื่อ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ศาสนาคริสต์ถูกโจมจีเป็นอย่างมากว่าเป็นคำสอนนอกรีต ดังนั้น นักเทววิทยาคริสต์จึงต้องบูรณาการปรัชญากรีกกับศาสนาคริสต์ โดยนำเอาปรัชญากรีกมาอธิบายศาสนาคริสต์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าความเชื่อหรือ คำสอนของศาสนาคริสต์นั้นน่าเชื่อถือ และมิใช่สิ่งที่งมงายหรือพิสูจน์ไม่ได้

2. สาเหตุภายใน (Internal Cause) จากการที่นักเทววิทยาคริสต์ซึ่งเป็นนักปราชญ์ซึ่งมีความสามารถของศาสนา คริสต์ปรารถนาที่จะให้เกิดความเข้าใจในทรรศนะที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์และโลก ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้นับเป็นประเด็นที่นักปรัชญากรีกให้ความสำคัญ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้นักเทววิทยาคริสต์จึงบูรณาการปรัชญากรีกเข้ากับศาสนา คริสต์ โดยนำประเด็นเกี่ยวกับโลกและชีวิตมนุษย์มาอธิบายด้วยหลักความเชื่อและหลัก ความศรัทธาของศาสนาคริสต์ เพราะต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่าเรื่องที่นักปรัชญากรีกโต้แย้งกัน คือประเด็นเรื่องชีวิตมนุษย์และโลกนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยหลักความเชื่อของ ศาสนาคริสต์เช่นเดียวกัน

ประเด็นการบูรณาการที่สำคัญตามทรรศนะของนักบุญออกัสติน

นักบุญออกัสติน (St.Augustine) เป็นนักเทววิทยาคนสำคัญของศาสนาคริสต์ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบูรณาการปรัชญากรีกเข้ากับศาสนาคริสต์ สำหรับความคิด คำสอน รวมทั้งระบบความคิดทั้งหมดของท่านนั้นทางปรัชญาเรียกว่า AUGUSTINIANISM ซึ่งมีความเด่นชัดมากในยุคของปรัชญาสมัยกลาง (Middle Age) เพราะนักบุญออกัสตินเป็รผู้ที่เฉลียวฉลาดในการนำทรรศนะแบบเทววิทยาคริสต์กับ ปรัชญากรีกมาบูรณาการกันได้อย่างผสมกลมกลืน อย่างไรก็ดีนักบุญออกัสตินมีความเห็นว่าปรัชญาไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาคริสต์แต่อย่างใด หากแต่ปรัชญาสามารถนำมาอธิบายคำสอนของศาสนาคริสต์ได้อย่างชัดเจน

นักบุญออกัสติ นได้แสดงจุดมุ่งหมายของปรัชญาว่า วิชาทั้งหลายที่เกิดจากความรู้คือสติปัญญาของมนุษย์ ล้วนเป็นเครื่องมือเพื่อความเข้าใจความหมายทางปรัชญา เพราะจุดหมายของปรัชญาคือการแก้ไขข้อข้องใจหรือปัญหาของชีวิต ดังนั้น การตอบปัญหาได้คือความสุขของมนุษย์ และคริสตศาสนาก็มีประโยชน์เป็นเครื่องแนะแนวทางและการบรรลุปรัชญา เพราะความเชื่อเป็นเรื่องของศาสนา ความเข้าใจเป็นเรื่องของปรัชญา ดังนั้นความเชื่อและความเข้าใจจึงต้องไปด้วยกัน

ทรรศนะของนักบุญออกัสตินที่แสดงถึงลักษณะแนวความคิดที่นำจริยศาสตร์คริสต์กับจริยศาสตร์กรีกมาบูรณาการเข้าด้วยกันมี 2 ลักษณะคือ

1. สืบเนื่องมาจากจริยศาสตร์ของกรีกที่โต้แย้งกันเรื่อง"ความสุข"(Eudaemonia) กล่าวคือเป็นการโต้แย้งกันว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตแบบใด , ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์นั้นคืออะไร ซึ่งการที่นักจริยศาสตร์กรีกโต้แย้งกันเรื่องนี้เพราะนักจริยศาสตร์กรีกมี ความเชื่อว่า ความสุขเป็นเป้าหมายของการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น ทรรศนะส่วนหนึ่งของนักบุญออกัสตินจึงเน้นที่เรื่อง"ความสุข"เช่นเดียวกับ จริยศาสตร์กรีก แล้วนักบุญออกัสตินได้เชื่องโยง"ความสุข"ไปหา"พระเจ้า"

2. จริยศาสตร์ของศาสนาคริสต์ที่กล่าวถึงเรื่องความรักของชาวคริสต์ (AGAPE) ดังที่อธิบายด้วยหลักบัญญัติข้อใหญ่ (The Grate Commandment) นั่นคือ"You shall Love The Lord Your God with all your heart, and with all your soul, and with all you strength and with all your mind; and your neighbor as yourself."(Luke 10 : 27)

กล่าวได้ว่า ทรรศนะทางจริยศาสตร์ของนักบุญออกัสตินส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก จริยศาสตร์ของกรีก ซึ่งพูดถึงเรื่อง"ความสุข"(Eudaemonia) และอีกส่วนหนึ่งเป็นตริยศาสตร์ของคริสต์ที่กล่าวถึง"ความรัก"(AGAPE) ของชาวคริสต์

สำหรับประเด็นที่นักบุญออกัสตินได้นำมาบูรณาการจริยศาสตร์กรีกเข้ากับ จริยศาสตร์คริสต์ เพราะมีคำถามจากพวกนอกศาสนาที่ได้โจมตีศาสนาคริสต์ ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นนั้นคือ

เมื่อพระเจ้าทรงเป็นความดีแล้วความชั่วเกิดขึ้นได้อย่างไร (Why there should be so much moral evil among people if there is good God ?) เป็นไปได้อย่างไรที่ความชั่วนั้นจะเกิดจากสิ่งทรงสร้างซึ่งมาจากพระเจ้า ซึ่งทรงเป็นความสมบูรณ์และเป็นความดี (It is possible for evil to arise out of a world that a perfectly good God had created ?) ทั้งสองประเด็นดังกล่าวนี้คือประเด็นที่คนนอกศาสนาคริสต์ได้โต้แย้ง ซึ่งนักบุญออกัสตินได้ตอบข้อโต้แย้งทั้ง 2 ประเด็นนี้ โดยการนำแนวความคิดของเพลโต้ (Platonic), เพลโต้ใหม่ (Neo-Platonic), สำนักสโตอิก (Stoicism) เข้ามาใช้ในการบูรณาการศาสนาคริสต์

แนวความคิดที่สำคัญของนักบุญออกัสตินได้บูรณาการปรัชญากรีกเข้ากับหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ คือ

พระเจ้าและความสุข (HAPPINESS AND GOD)
เสรีภาพและเงื่อนไข (FREEDOM AND OBLIGATION)
พระหรรษทาน (NEED OF GOD)
ความชั่ว (EVIL)
อาณาจักรสองแห่ง (THE TWO CITY)

1. พระเจ้าและความสุข (HAPPINESS AND GOD) 

นักบุญออกัสตินเริ่มต้นอธิบายจากธรรมชาติของมนุษย์ว่า มนุษย์เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างมาพร้อมกับเจตจำนงเสรี (WILL) และธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องการแสวงหาพระเจ้า ดังจะเห็นได้ว่าทรรศนะนี้เป็นแบบเทววิทยาของคริสเตียน และจากทรรศนะดังกล่าวนี้นักบุญออกัสตินได้อธิบายว่าเหตุใดมนุษ์จึงต้องแสวง หาพระเจ้า กล่าวคือ นักบุญออกัสตินได้อธิบายว่า พระเจ้าทรงเป็นความดีงามสูงสุดของมนุษย์ ดังนั้นการแสวงหาความดีสูงสุดจึงเป็นการมีชีวิตที่ดี

จากคำอธิบายดังกล่าวในข้างต้นนี้ นักบุญออกัสตินได้แสดงในรูปของการอ้างเหตุผลแบบ นิรนัยของปรัชญากรีก กล่าวคือ

ข้อเสนอหลัก พระเจ้าทรงเป็นความดีสูงสุดของมนุษย์
ข้อเสนอรอง การแสวงหาความดีงามสูงสุดคือการมีชีวิตที่ดี
ข้อเสนอสรุป การมีชีวิตที่ดีงามนั้นก็คือ การรักพระเจ้า

เป็นที่น่าสังเกตว่านักบุญออกัสตินได้ใช้วิธีการอ้างเหตุผลแบบนิรนัยเป็น เครื่องมือในการบูรณาการปรัชญากรีกเข้ากับศาสนาคริสต์ กล่าวคือ นักบุญออกัสติน ได้กล่าวถึงข้อเสนอหลักด้วยความเชื่อของคริสต์ที่ว่าพระเจ้าทรงเป็นความดีสูงสุด และในลำดับต่อมาซึ่งคือข้อเสนอรองนัก บุญออกัสตินได้กล่าวถึงเรื่องชีวิตที่ดี เพราะนี่คือประเด็นโต้แย้งที่สำคัญของกรีก โดยที่ทางกรีกจะให้เหตุผลว่าความสุขเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ และในข้อเสนอสรุปนัก บุญออกัสตินได้กล่าวถึง ความรักแบบชาวคริสต์ โดยเชื่อมโยงการมีชีวิตที่ดีไปหาพระเจ้าว่า"การมีชีวิตที่ดีงามของมนุษย์ นั้นก็คือการรักพระเจ้า"นั่นเอง

นอกจากนี้ นักบุญออกัสตินยังกล่าวย้ำแนวคิดของศาสนาคริสต์ที่ว่า ทุกสิ่งนั้นมาจากพระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้าง ทั้งนี้เพราะนักบุญออกัสตินไม่เห็นด้วยกับทรรศนะเรื่องปฐมธาตุของจักรวาล (The First Principle of All Thing) ซึ่งเป็นประเด็นการโต้แย้งที่สำคัญของกรีก แต่ในทางตรงกันข้ามนักบุญออกัสตินได้เน้นย้ำว่าในทรรศนะของศาสนาคริสต์ แล้วจะไม่โต้แย้งว่าอะไรคือปฐมธาตุของจักรวาล เพราะทุกอย่างล้วนมาจากพระเจ้า อีกทรรศนะหนึ่งที่นักบุญออกัสตินได้นำทรรศนะของกรีกมาบูรณาการเข้ากับศาสนา คริสต์ คือ ชีวิตที่ดีหรือชีวิตที่ประเสริฐของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นได้จากตัวเอง และขึ้นอยู่กับว่าเราจะดำเนินชีวิตแบบใด ซึ่งเราต้องลงมือทำด้วยตัวเองเพื่อให้มีชีวิตที่ดีงาม แต่สำหรับนักบุญออกัสตินแล้วชีวิตที่ดีงามหรือชีวิตที่ประเสริฐนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ใครจะมาสร้างหรือกำหนดให้ แต่ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์ต้องรู้ว่าควรจะรักอะไร ไม่ควรรักอะไร นี่คือลักษณะการบูรณาการของนักบุญออกัสตินด้วยการนำเอาประเด็นเรื่อง"ชีวิต ที่ดี"ของกรีกมากล่าวถึง แต่เป็นการกล่าวถึงในแบบของศาสนาคริสต์โดยกล่าวถึงเรื่อง"ความรัก"แบบ คริสเตียน ดังจะเห็นได้ว่าทรรศนะทาง จริยศาสตร์ประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่า เจตจำนง และความรักของมนุษย์นั้นปรับเปลี่ยนได้เพราะเป็นสิ่งที่พระเจ้าทางประทานให้มา ดัง นั้นเมื่อพิจารณาแล้ว จุดสำคัญที่นักบุญออกัสตินได้อธิบายก็คือ เจตจำนงของมนุษย์เป็นสิ่งไม่คงที่ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ และความรักของมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้เช่นเดียวกัน

2. เสรีภาพและเงื่อนไข (FREEDOM AND OBLIGATION)

ตามทรรศนะของนักบุญออกัสตินนั้น เจตจำนงของมนุษย์เป็นอิสระ เพราะเวลาพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มานั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์พระองค์ก็ได้ทรงให้เจตจำนงซึ่งเป็นอิสระด้วย แต่เจตจำนงนั้นต้องมีความสำคัญน้อยกว่าเงื่อนไขทางศีลธรรม ดังนั้นจึงเกิดปัญหาขึ้นมาว่า ในเมื่อพระเจ้าทรงให้เจตจำนงเสรีมา แต่ในขณะเดียวกันเจตจำนงเสรีต้องสำคัญน้อยกว่าเงื่อนไขทางศีลธรรม แล้วจะมีอิสระได้อย่างไร นักบุญออกัสตินได้อธิบายว่า พื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญของเงื่อนไขทางศีลธรรมคือเสรีภาพ หมายความว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์มาพร้อมเจตจำนง แต่ในขณะเดียวกันเจตจำนงเสรีของมนุษย์นั้นต้องมีความสำคัญน้อยกว่าเงื่อนไข ทางศีลธรรม หรือข้อผูกมัดทางศีลธรรม เพราะพื้นฐานของข้อผูกมัดทางศีลธรรมนั้นคือเสรีภาพ หมายความว่า เงื่อนไขทางศีลธรรมหรือข้อผูกมัดทางศีลธรรมมีพื้นฐานอยู่ที่เสรีภาพ นั่นคือเสรีภาพของมนุษย์ที่เลือกจะละทิ้งพระเจ้า หรือเข้าไปหาพระเจ้าผู้ทรงเป็นความดีที่สมบูรณ์ที่มนุษย์แบ่งแยกไม่ได้

ดังนั้น ตามแนวคิดของศาสนาคริสต์ เมื่อพระเจ้าทรงเป็นความดีสูงสุดที่แบ่งแยกไม่ได้ เป็นความดีที่แท้จริง จึงเป็นเสรีภาพที่มนุษย์จะเลือกละทิ้งพระเจ้าแล้วมาข้องติดอยู่กับโลกมนุษย์ หรือจะเลือกเข้าไปหาพระเจ้า

ประเด็นที่ว่าพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นของเงื่อนไขทางศีลธรรมหรือเสรีภาพ นักบุญออกัสติน ได้แสดงให้เห็นว่า การที่คนจะมีศีลธรรมหรือไม่มีศีลธรรมนั้นอยู่ที่การเลือกของตัวมนุษย์เอง ขึ้นอยู่กับว่าการใช้เจตจำนงของเงื่อนไขที่จำเป็นทางศีลธรรมนั้นอย่างไร ถ้าเราใช้เจตจำนงเสรีไปในทางที่ถูกการกระทำที่ออกมาก็จะเป็นการกระทำที่ถูกต้อง แต่ถ้าใช้เจตจำนงไปในทางที่ผิดก็ย่อมออกมาเป็นการกระทำที่ผิด ดังนั้น เจตจำนงเสรีจึงมีความสำคัญน้อยกว่าเงื่อนไขทางศีลธรรม แต่ในขณะเดียวกัน เงื่อนไขทางศีลธรรมก็มีข้อยืนยันว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี มีเสรีภาพที่จะเลือก

กล่าวได้ว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์มาพร้อมกับเจตจำนงเสรี แต่เจตจำนงเสรีของมนุษย์ต้องเป็นรองเงื่อนไขทางศีลธรรม และขณะเดียวกันเงื่อนไขทางศีลธรรมก็เป็นสิ่งยืนยันว่ามนุษย์มีเสรีภาพที่จะ เลือกหรือไม่เลือกทำแบบใด

ด้วยเจตจำนง หรือความประสงค์ของมนุษย์ ก็คือต้องการความสุข แสวงหาความสุข ความพึงพอใจ และข้อเท็จจริงแล้ว ความสุขสามารถพบได้ในพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้น การที่มนุษย์จะแสวงหาพระเจ้าหรือละทั้งพระเจ้า ย่อมเกิดจากเจตจำนงของตนทั้งสิ้น ในขณะเดียวกัน นักบุญออกัสตินอธิบายว่า ถึงแม้มนุษย์จะมีเจตจำนงเสรี แต่แนวโน้มหรือแนวทางที่มนุษย์จะไปหาพระเจ้านั้นมีอยู่ในใจมนุษย์ทุกคนแล้ว โดยพระเจ้า ซึ่งเป็นแนวคิดของคริสเตียนและปรัชญาเพลโต้ด้วย

นักบุญออกัสตินเชื่อว่าทุกคนมีสำนึก หรือมโนธรรมทางศีลธรรม ดังนั้น มนุษย์จะแยกได้ว่าอะไรถู อะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว อะไรคือกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม เพราะมนุษย์เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างมาจากพระฉายาของพระเจ้า

การที่มนุษย์จะแสวงหาพระเจ้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการใช้เจตจำนงของมนุษย์ ประเด็นนี้แสดงให้เห็นถึงการนำวิธีการทางปรัชญาของเพลโต้มาเป็นเครื่องมืออธิบาย ศาสนาคริสต์เพื่อให้พวกยอกศาสนาเข้าใจ เพราะคนนอกศาสนาจะนิยมปรัชญากรีก ดังนั้น นักบุญออกัสตินจึงใช้วิธีการของกรีกมาเป็นเครื่องมือในการอธิบาย ซึ่งอภิปรัชญาของเพลโต้ที่มีอิทธิพลต่อความคิดและวิธีการอธิบายของนักบุญออ กัสติน กล่าวคือเพลโต้ได้อธิบายเรื่องความเป็นจริงที่แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

1. โลกของวัตถุ คือทุกอย่างที่ปรากฏ หรือที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสเป็นความจริงระดับหนึ่งแต่ไม่ใช่ความเป็นจริงที่แท้

2. โลกของแบบ หรือโลกของอุดมคติ

ซึ่งโลกของวัตถุหรือโลกของแบบมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากเพลโต้เชื่อว่าทุกอย่างในโลกมนุษย์นั้นจำลองแบบมาจากโลกของแบบ เช่น ความยุติธรรม ในโลกมนุษย์นั้นมีหลากหลาย แต่ความยุติธรรมที่แท้จริงต้องเป็นหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในโลกของแบบ ดังนั้น พวกนักกฎหมาย อัยการ ต้องก้าวให้พ้นจากตัวบทกฎหมาย เพื่อเข้าให้ถึงความยุติธรรมที่แท้จริงให้ได้

จากแนวคิดของเพลโต้ นักบุญออกัสตินจึงได้พยายามใช้วิธีการของเพลโต้เพื่ออธิบายให้เห็นว่าพระ เจ้านั้นเหมือนกับเป็นอีกโลกหนึ่ง และมนุษย์นั้นเป็นอีกโลกหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็มีรอยประทับ หมายความว่า มีอะไรบางอย่างซึ่งจำลองแบบมา หรือเชื่อมโยงกันอยู่ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์

ดังนั้น เจตจำนงของมนุษย์นั้นเป็นอิสระเสรี แต่ในขณะเดียวกัน เจตจำนงเสรีต้องด้อยกว่าเงื่อนไขทางศีลธรรม และมนุษย์จะต้องรักพระเจ้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องรักพระเจ้า

3. พระหรรษทาน (NEED OF GOD) 

ในเรื่องพระหรรษทานนี้ นักบุญออกัสตินได้เริ่มต้นอธิบายจากความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ เพราะพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมา ดังนั้น พระเจ้ากับมนุษย์จึงมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง"มนุษย์ทุกคน"ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนบาป กับ"พระเจ้า"ซึ่งเป็นสิ่งมีภาวะที่เป็นนิรันดร์ ไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นสิ่งสมบูรณ์สูงสุด

นักบุญออกัสตินได้ใช้อภิปรัชญาของเพลโต้มาอธิบายในเรื่องพระหรรษทานของพระ เจ้า ซึ่งเพลโต้ได้แบ่งความเป็นจริงออกเป็น 2 ระดับ คือ โลกของวัตถุ และโลกของแบบ ในทรรศนะของเพลโต้นั้นอธิบายดังนี้

โลกของวัตถุ คือ ทุกสิ่งที่อยู่ในโลกนั้นรู้จักได้ในฐานะที่เป็นสิ่งเฉพาะ (Particular Thing) เช่น ที่เรารู้จักมนุษย์แต่ละคน ดอกไม้แต่ละดอก นกแต่ละตัว เช่นนี้เป็นสิ่งเฉพาะที่รับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นวามจริงระดับอัตวิสัย ซึ่งเป็นความจริงที่ขึ้นอยู่กับตัวของผู้รู้ ผู้คิด ไม่ได้เป็นความจริงระดับสมบูรณ์ เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่ชั่วขณะ แล้วก็แปรสภาพไป เมื่อตัวเราเลิกคิด เลิกรู้สึกก็จะหายไป

โลกของแบบ คือ ความเป็นจริงที่แท้ เป็นความจริงระดับสัมบูรณ์ เป็นความจริงสูงสุด ไม่ขึ้นอยู่กับจิตมนุษย์ และเป็นสิ่งที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเรารู้จักโลกของแบบได้ในฐานะที่เป็นสิ่งสากล หรือเป็นภาพรวม และรับรู้ได้ด้วยการใช้ปัญญา (Wisdom) เช่น มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะชนชาติใด เมื่อเกิดมาบนโลกแล้วมนุษย์ย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากัน แม้ว่าคนในบางประเทศอาจด้อยกว่าคนอื่น แต่เมื่อพูดถึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้วทุกคนย่อมมีศักดิ์ศรีเท่า กัน นี่คือความหมายของสิ่งสากล (UNIVERSAL) ซึ่งเข้าใจได้ด้วยปัญญา

ซึ่งเพลโต้จะบอกว่าทั้งโลกของวัตถุและโลกของแบบมีความสัมพันธ์กัน เช่น ความยุติธรรมในโลกของวัตถุหรือในโลกนี้ ดูได้จากตัวกฎหมาย แต่กฎหมายต้องสอดคล้องกับความยุติธรรมที่เป็นสิ่งสากล หรือโลกของแบบนั่นเอง ดังนั้นบางครั้งการที่ผู้พิพากษาท่านพิพากษาพ้นจากตัวบทกฎหมายแล้วเข้าสู่ ความยุติธรรมที่เป็นสากลได้ เช่น กรณีการฆ่าตัวตายเป็นความผิด ใครฆ่าคนต้องถูกจับ แต่กฎหมายไม่ได้ลงโทษทันที กฎหมายมีข้อยกเว้นว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์เมื่อจวนตัวย่อมต้องสู้เพื่อป้องกันตน ดังนั้นการฆ่าตัวตายเพราะเป็นการป้องกันตัว โทษหนักก็จะเป็นเบา พิจารณาที่เจตนาว่าจงใจฆ่าหรือไม่ เป็นต้น

จากการที่เพลโต้บอกว่าทั้งโลกของวัตถุและโลกของแบบมีความสัมพันธ์กันนั้น เพลโต้ก็ไม่ได้บอกว่าสัมพันธ์กันได้อย่างไร จึงเป็นปัญหาที่เพลโต้ทิ้งไว้ ซึ่งนักบุญออกัสตินตอบโดยนำวิธีการของเพลโต้มาใช้ แต่ใช้ศัพท์ทางคริสต์ใส่เข้าไปให้เห็นว่ามนุษย์กับพระเจ้านั้นสัมพันธ์กัน เหมือนทฤษฎีของเพลโต้ คือ มนุษย์อยู่ในโลกมนุษย์ แต่ว่ามนุษย์มาจากพระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้สร้าง ซึ่งนักบุญออกัสตินตอบด้วยแนวคิดทางเทววิทยาว่า การที่มนุษย์จะรู้จักพระเจ้าได้หรือเข้าถึงพระเจ้าได้ก็ด้วยพระหรรษทาน (THE GRACE OF GOD)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่านักบุญออกัสติน ใช้วิธีการของกรีกมาเป็นเครื่องมือ แต่ก็ยืนยันแนวคิดของคริสต์ว่าเฉพาะวิธีการของกรีก ถ้าเป็นวิธีการของเพลโต้ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรอง จึงจะเข้าใจศักดิ์ศรีความเป็นคน และกรีกจะจบไว้แค่นั้น แต่นักบุญออกัสตินจะบอกว่าเฉพาะปัญญาเข้าถึงพระเจ้าไม่ได้ ปัญญาเป็นแค่การปูพื้นเท่านั้น เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งมนุษย์จะเข้าถึงพระเจ้าได้ ต้องได้รับพระหรรษทานของพระเจ้า คือ ความส่องสว่างจากพระเจ้า (ILLUMINATION)

สรุปได้ว่านักบุญออกัสติน ใช้วิธีการของเพลโต้มาเปรียบเทียบ อธิบายและเติมแนวคิดของคริสต์เข้าไป คือมนุษย์กับพระเจ้ามีความสัมพันธ์ ซึ่งมีช่องที่จะเชื่อมกันได้นั้นต้องอาศัยพระหรรษทานจากพระเจ้า ซึ่งเหตุผลที่ต้องอาศัยพระหรรษทาน นักบุญออกัสติน ได้นำแนวคิดศาสนาคริสต์มาอธิบาย คือ ถ้าเราอยากรู้ว่าจะถึงพระเจ้า เข้าใจพระเจ้าได้ ต้องรักพระองค์อย่างสุดจิตสุดใจ ใช้ปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องได้รับพระหรรษทานจากพระเจ้าด้วยเพราะอะไร ในประเด็นนี้นักบุญออกัสตินนำวิธีการของกรีกมาอธิบายว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ซึ่งเหมือนกับโลก 2 โลก คือ โลกของวัตถุกับโลกของแบบ ซึ่งความสัมพันธ์จะสมบูรณ์ได้ต้องอาศัยพระหรรษทาน ตรงนี้เป็นแนวคิดของศาสนาคริสต์ ซึ่งต้องใช้พระหรรษทานเพราะศาสนาคริสต์นั้นต้องมีความศรัทธาก่อนแล้วจึง เชื่อ เราจะได้รับพระหรรษทานได้นั้นเราต้องเชื่อพระเจ้า

จะเห็นได้ว่าวิธีการอธิบายของนักบุญออกัสตินนั้น ใช้ปรัชญาของเพลโต้มาอธิบาย คือ มนุษย์นั้นเป็นสิ่งไม่สมบูรณ์ มนุษย์เป็นสิ่งที่อยู่ในโลกของวัตถุ แต่พระเจ้าเป็นสิ่งสมบูรณ์สูงสุด และมีปัญหาว่าสิ่งสมบูรณ์สูงสุด ซึ่งไม่มีตนจับต้อง เห็นไม่ได้ มาสัมพันธ์กับมนุษย์ซึ่งมีตัวตนจับต้องได้ และเป็นสิ่งไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร ซึ่งเพลโต้ตอบโดยใช้การเปรียบเทียบจากนิทานเรื่อง"ถ้ำ"ให้คนเข้าใจโลกของแบบ ได้ สำหรับนักบุญออกัสตินนั้น บอกว่าการจะเข้าถึงโลกของแบบได้นั้น มนุษย์จะต้องได้รับพระหรรษทาน ต้องเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยแล้วเราจึงจะเข้าใจพระเจ้า และการที่คนเราจะเชื่อพระเจ้าได้นั้น ต้องได้รับพระหรรษทานพิเศษ คือ เราต้องเริ่มมีจิตที่จะเชื่อพระเจ้า แล้วเราจะได้รับพระหรรษทานพิเศษ ใจเชื่อก่อน จึงเข้าใจ สำหรับกรีกต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองด้วยเหตุผลก่อนแล้วจึงเชื่อ แต่ของคริสเตียนนั้นจะเชื่อก่อนแล้วจึงเข้าใจ ซึ่งขัดแย้งกัน ตรงนี้นักบุญออกัสติน จึงบอกว่าถ้าไม่เชื่อก่อนก็จะไม่ได้รับพระหรรษทาน

นักบุญออกัสติน ยังยืนยันในฐานะนักเทววิทยาอีกว่า เจตจำนงของมนุษย์ถึงแม้จะเสรี แต่โดยกฎธรรมชาติของมนุษย์นั้น มนุษย์มักจะอ่อนแอ มักจะสงสัยและคล้อยตามกิเลสกับอารมณ์ ดังนั้นพระหรรษทานเท่านั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้มั่นคงได้

4. ความชั่ว (EVIL) 

จากปัญหาที่ว่าเมื่อพระเจ้าทรงเป็นความดีสูงสุด เป็นผู้สร้างทุกสิ่งแล้ว ความชั่วร้ายเกิดขึ้นได้อย่างไร นักบุญออกัสตินอธิบายว่า ความชั่วร้ายไม่ใช่สิ่งที่พระเจ้าทรงสร้าง เพราะหากเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งถ้าหากความสมบูรณ์ ความดีงามทางศีลธรรมเกิดขึ้นจากการรักพระเจ้าแล้ว ความชั่วร้ายก็เกิดขึ้นได้ด้วยการละทิ้งพระเจ้า

ดังนั้นถ้าพระเจ้าทรงเป็นความดี เป็นความสมบูรณ์ เป็นสิ่งที่ดีงามสูงสุด การที่มนุษย์จะมีชีวิตที่มีความสุขได้ก็ต้องมีความดีสูงสุด ก็คือต้องมีพระเจ้า นักบุญออกัสตินจึงอธิบายว่า เมื่อความสมบูรณ์ทางศีลธรรมหมายถึงการที่เรารักพระเจ้า เพราะพระเจ้าเป็นความดีงามสูงสุด ดังนั้นความชั่วร้ายจึงหมายถึงความบกพร่อง (IMPERPECT) ซึ่งถ้าอยากมีความดีงามก็ต้องกลับไปหาพระเจ้าและได้รับพระหรรษทาน ความชั่วร้ายจึงไม่ได้เกิดจากพระเจ้าแต่เกิดจากการใช้เจตจำนงของมนุษย์ที่จะ ละทิ้งพระเจ้า

การที่พระเจ้าให้เสรีภาพ แต่เสรีภาพต้องมีเงื่อนไขว่า การใช้เสรีภาพต้องเป็นรองกฎทางศีลธรรม และมนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งทรงสร้างมาจากฉายาของพระเจ้า มนุษย์มีมโนธรรม และมีแนวโน้มทางศีลธรรมอยู่ในตัว แต่ถ้ามนุษย์ละทิ้งจากพระเจ้า ความชั่วร้ายก็จะเกิดขึ้น กล่าวได้ว่าเจตจำนงเป็นสิ่งที่ดี แต่การขาดระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องทำให้เกิดความชั่วร้าย

นักบุญออกัสตินจึงยืนยันว่า ความชั่วร้ายไม่ใช่สิ่งที่พระเจ้าทรงสร้าง แต่ความชั่วร้ายเป็นความบกพร่องหรือการขาดจากอะไรบางอย่าง ซึ่งความเป็นคนที่สมบูรณ์นั้นต้องอาศัยพระหรรษทานคือต้องอาศัยความเชื่อและ ได้รับพระหรรษทาน

ความชั่วร้ายจึงเกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ไม่ได้เกิดจากการสร้างของพระเจ้า สำหรับปัญหาที่ว่าในเมื่อพระเจ้าทรงเป็นความดีงามแล้วทำไมโลกนี้จึงมีความ ชั่วร้าย ซึ่งนักบุญออกัสตินได้นำปรัชญาของเพลโต้มาตอบปัญหาเหล่านี้ว่า ถ้าจะไม่ให้ความชั่วร้ายเกิดขึ้น ถ้าเป็นเพลโต้ก็ใช้ปัญญาในการเข้าถึงโลกของแบบ (WORLD OF IDEA) แต่นักบุญออกัสตินนั้นไม่ให้ความชั่วร้ายเกิดขึ้น คือ การกลับไปหาพระจ้า และอยู่ภายใต้เงื่อนไข ต้องเชื่อก่อนและก็จะได้รับศีลธรรมเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่านักบุญออกัสตินใช้วิธีการของกรีกเป็นเครื่องมือ แต่ใช้แนวคิดของศาสนาคริสต์เข้าไปอธิบาย

ความชั่วร้ายเกิดขึ้นได้เพราะความรักที่ไม่ถูกต้อง (DISORDERED LOVE) ไม่ใช่ความรักที่แท้จริง หมายความว่ามนุษย์ทุกคนคาดหวังความสุข ความสมหวังจากความรัก แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่มนุษย์ได้รับจากความรักคือ ความทุกข์ ความหม่นหมอง ความกระวนกระวาย ซึ่งนักบุญออกัสติน อธิบายว่าที่เป็นเช่นนั้น เพราะคนคาดหวังความสุขจากความรัก นั้นคือมนุษย์นั้นไม่ได้รับอย่างถูกต้อง

การรักพระเจ้าจะเป็นการทำให้สิ่งที่พร่องนั้นสมบูรณ์ ดังนั้นการที่เราพร่องในเรื่องเหล่านี้ การรักษาพระเจ้าจึงทำให้ความรักที่ผิดนั้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ความรักทุกอย่างในโลกนี้ไม่เป็นระบบ ไม่สมบูรณ์ที่สุด ความรักทั้งหลายที่อยู่บนโลกนี้อาจไม่ใช่ความรักที่แท้จริง ดังนั้นถ้าเราสามารถใช้ปัญญาที่จะรู้ได้ว่าควรจะรักอะไร เราก็จะรู้ว่าเราควรรักพระเจ้า สิ่งนี้เองที่ทำให้เราได้ความรักที่สมบูรณ์

จะเห็นได้ว่านักบุญออกัสตินอธิบายจากการที่มนุษย์เราเป็นสิ่งไม่สมบูรณ์ การที่มนุษย์มีเจตจำนงเสรีแล้วใช้เจนจำนงเสรีนั้นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ทำให้มนุษย์มีความรักที่ผิด ดังนั้น การที่จะกลับไปหาความรักที่สมบูรณ์ มีความสุขที่แท้จริงได้ คือเราต้องไตร่ตรองว่าควรจะรักอะไรที่เป็นสิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะฉะนั้นจึงควรจะรักพระเจ้า

นักบุญออกัสตินบอกว่า ความรู้สึกภาคภูมิใจหรือหลงตัวเอง ความหยิ่ง ทำให้มนุษย์หันหนีไปจากพระเจ้า ตรงนี้เป็นจริยศาสตร์คริสต์ เพราะจริยศาสตร์คริสต์ เน้นเรื่องความสุภาพ ถ้ารักพระเจ้าต้องสุภาพต่อเพื่อนมนุษย์ ผู้ใดหยาบคายต่อเพื่อมนุษย์ ผู้นั้นหยาบคายต่อพระเจ้านี่เป็นข้อความจากคัมภีร์ ดังนั้นการที่คนเรามีความรู้สึกหยิ่งยะโส ดูถูกคนแสดงถึงความบกพร่องของตัวเรา และเราก็เริ่มหันเหไปจากพระเจ้า

นักบุญออกัสติน ได้นำคุณธรรมหลักของกรีกมาอธิบายด้วยภาษาของศาสนาคริสต์ คือ

การรู้จักประมาณตน (TEMPERANCE) หมายถึง การรู้จักประมาณระหว่างมากเกินไปกับน้อยเกินไป นักบุญออกัสตินต้องการจะชี้ให้เห็นว่า คุณธรรมหลักของกรีกข้อนี้ ทางศาสนาคริสต์ก็มีเรื่องนี้ คือ

1. การรู้จักประมาณ ก็คือการที่เราอุทิศตัวเราอย่างสิ้นเชิงให้กับสิ่งที่เรารัก ก็คือ พระเจ้า

2. ความกล้าหาญ (FORTITUDE) หมายถึง ความกล้าหาญ นักบุญออกัสติน ต้องการชี้ให้เห็นว่าทางศาสนาคริสต์ ความกล้าหาญ คือ ทำทุกอย่างเพื่อสิ่งที่เรารักคือ พระเจ้า

3. ความเที่ยงธรรม (JUSTICE) หมายถึง ความยุติธรรม นักบุญออกัสติน ต้องการชี้ให้เห็นว่าทางศาสนาคริสต์ความเที่ยงตรงก็คือ สม่ำเสมอกับสิ่งที่เรารัก มั่นคงต่อสิ่งที่เรารัก ก็คือ พระเจ้า

4. ความรอบคอบ (PRUDENCE) หมายถึง ความรอบคอบหรือปัญญา นักบุญออกัสตินต้องการชี้ให้เห็นว่าทางศาสนาคริสต์ ความรอบคอบ หมายถึงการมีปัญญาจะทำให้เราสามารถแยกแยะได้ คือ สิ่งที่เราควรจะรัก

ดังนั้น นักบุญออกัสตินนำเอาแนวคิดของกรีกมาอธิบายจริยศาสตร์ เพื่อให้เห็นว่าประเด็นเหล่านี้ต้องการที่จะอธิบาย เห็นว่าเรื่องของศาสนาคริสต์นั้นอธิบายได้ด้วยวิธีการกรีก

5. อาณาจักรสองแห่ง (THE TWO CITY) 

นักบุญออกัสติน กล่าวไว้ว่า อาณาจักรมีอยู่ 2 แห่ง

1. อาณาจักรโลก ซึ่งสร้างขึ้นโดยความรักที่เห็นแก่ตัวของมนุษย์และการดูหมิ่นในพระเจ้า อาณาจักรโลกนี้ปกครองโดยความเห็นแก่ตัว ความอิจฉาริษยา ความถือตัว มีการทุจริตมากมาย เรียกได้ว่ามีคนที่อยู่เหนือพระเจ้า (THOSE WHO PREFER SELF TO GOD)

2. อาณาจักรแห่งสวรรค์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยความรักในพระเข้าและความรักที่ดูหมิ่นตัวเอง เป็นอาณาจักรที่เต็มไปด้วยความรัก ปกครองด้วยพรแห่งสวรรค์คือพระเจ้า กล่าวได้ว่าเป็นอาณาจักรที่มีคนที่รักพระเจ้าและพระเจ้าอยู่เหนือตัวเรา (THOSE WHO LOVE GOD AND PREFER GOD TO SELF)

ซึ่งนักบุญออกัสตินต้องการจะเปรียบเทียบให้เห็นว่า ถ้าใครที่รักพระเจ้า และพระเจาอยู่เหนือชีวิตผู้นั้น จะมีชีวิตที่มีความสุขแท้จริง สงบสุข แต่ถ้าใครหลงติดอยู่กับความรุ่งเรืองสักวันหนึ่งก็จะล่มสลายได้ เพราะอะไรที่เป็นเรื่องของโลกมนุษย์จะเป็นไปตามวัฎจักร ไม่เที่ยงแท้แน่นอนแต่ถ้ารักพระเจ้าจะได้ความสุขอย่างแท้จริงเป็นบรมสุข ดังนั้นถ้าเราจะไม่ทุกข์ก็ต้องรักษาพระเจ้าเพราะพระเจ้าทรงเป็นความรักที่แท้จริง

สรุปได้ว่า สิ่งที่นักบุญออกัสตินบูรณาการนั้น คือ การที่นักบุญออกัสตินนำความคิดทางปรัชญากับศาสนาคริสต์มาบูรณาการกัน โดยนำเอาวิธีการของปรัชญากรีกมาอธิบายศาสนาคริสต์ เพื่อให้เห็นว่าปรัชญากรีกกับศาสนาคริสต์นั้นไม่ขัดแย้งกันไปด้วยกันได้ ซึ่งนับว่าเป็นความชาญฉลาดของนักบุญออกัสตินอย่างมากที่รู้ว่าชาวกรีกกำลัง ยอมรับปรัชญากรีก ปรัชญากรีกมีอิทธิพลมาก นักบุญออกัสติน จึงได้พยายามทำให้เห็นว่าวิธีการของกรีกนำมาอธิบายศาสนาคริสต์ได้

THAI CADET

 

© 2547-2567. จัดทำเป็นวิทยาทาน โดย THAI CADET

Made with Pingendo Free  Pingendo logo