เหตุเริ่มต้นของปรัชญา

เหตุเริ่มต้นของปรัชญาจึงอยู่ที่ความแปลกใจ ความสงสัยประสบการณ์ของภาวะพื้นฐาน และท้ายที่สุด อยู่ที่ความปรารถนาเพื่อให้มีการติดต่อที่แท้จริง เป็นที่ประจักษ์ตั้งแต่เริ่มแรกแล้วว่า ปรัชญาทั้งหลายผลักดันตัวเองให้เป็นที่ปรากฏ ให้พูดแถลงตัวเอง ให้ได้รับการได้ยิน และแก่นของปรัชญาก็อยู่ที่ได้แจ้งแถลงไข
 

โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ : ปรัชญา 
ชุมนุมบทความทางวิชาการ ถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในโอกาสที่พระชนม์ครบ 80 พรรษา บริบูรณ์

ประวัติปรัชญาในฐานะที่เป็นระบบความคิด นั้นมีจุดเริ่มต้นหลายฟันปีมาแล้ว แต่จุดเริ่มต้นมิใช่เหตุเริ่มต้น จุดเริ่มต้นเป็นประวัติศาสตร์และสมมติฐานมากมายหลายประการสำหรับคนรุ่นหลัง เพราะเป็นผลงานของความนึกคิด แต่เหตุเริ่มต้นเป็นพลังแรกเริ่มที่ผลักดันมาสู่ปรัชญา

เหตุเริ่มต้นมีหลายประการด้วยกัน จากความประหลาดใจ ทำให้เกิดคำถาม และผลคือความรู้ จากความสงสัยแคลงใจ ในสิ่งที่รู้แล้วทำให้เกิดการตรวจสอบอย่างละเอียดลออ และผลคือความกระจ่างแจ้งแน่นอน จากความสะเทือนใจของมนุษย์ และจากจิตสำนึกในความโดดเดี่ยวของมนุษย์ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับตัวเอง

ประการแรก

ปลาโตกล่าวไว้ว่า เหตุเริ่มต้นของปรัชญาคือความประหลาดใจ ดวงตาของเราทำให้เราเห็นดวงอาทิตย์และท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว การเห็นทำให้เกิดแรงปรารถนาที่จะค้นคว้าเกี่ยวกับจักรวาล จากจุดนี้ปรัชญาก็เริ่มเติบโต

ความแปลกใจ การถามตัวเองนำไปสู่ความรู้ ในความแปลกใจว่า ทำไม เหตุไฉนฉันจึงตระหนักในความไม่รู้ของตัวเอง หลังจากนั้นฉันพยายามที่จะรู้ แต่ทว่าเพียงเพื่อต้องการรู้เท่านั้น มิใช่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อันใดทั่ว ๆ ไปก็หาไม

ความคิดคำนึงทางปรัชญาเปรียบเสมือนการตื่นตัวหรือการพ้นจากพันธะของความต้อง การ และความจำเป็นของชีวิต การหลุดพ้นดังกล่าวเกิดจากการพินิจดูสิ่งต่าง ๆ ท้องฟ้าและโลก ถามว่า "สิ่งเหล่านั้นคืออะไร ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร" คำถามซึ่งคำตอบไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใดโดยเฉพาะ แต่ทว่าเพื่อให้ใจตัวเองสงบ

ประการที่สอง

เมื่อเราหายแปลกใจ หายประหลาดใจ โดยการได้ทราบ ได้มีความรู้เกี่ยวกับการ "ดำรงอยู่" หรือ "เป็นอยู่" ของสิ่งนั้นแล้ว ขั้นต่อไปเราก็เริ่มสงสัยและแคลงใจ จริงอยู่เราเพิ่มความรู้ขึ้นมากมาย แต่เมื่อตรวจสอบอย่างพินิจพิเคราะห์เราเห็นว่าไม่มีอะไรที่แน่นอน การรับรู้ของเราขึ้นอยู่กับประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ซึ่งอาจหลอกเราได้ อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องตรงตามความเป็นจริงในตัวของมันเองซึ่งอยู่นอกตัวเราและไม่ขึ้น อยู่กับตัวเรา ความคิดของเราก็เช่นกัน ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของมนุษย์ซึ่งมีขอบเขตจำกัดและเต็มไปด้วยข้อขัดแย้งซึ่ง กันและกัน ทุกแห่งหนมีการยืนยันอย่างหนึ่งที่คัดค้านการยืนอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเะรายิ่งพินิจพิเคราะห์เรายิ่งเพิ่มความสงสัย และเมื่อพยายามคิดให้ถึงขึ้นสุดท้าย ก็จะทำให้เิกิดความรู้สึกที่จะปฏิเสธ และไม่ยอมรับโดยสิ้นเชิง หรือมิฉะนั้นก็มาถึงคำถามที่ว่า "ความแน่นอนอยู่ที่ไหนเล่า ที่จะทำให้ความสงสัยแคลงใจสายตัวไป และที่จะสามารถยืนหยัดต่อการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลายแหล่ได้ดี"

การสงสัยแคลงใจอย่างมีระเบียบแบบแผน เป็นบ่อเกิดของการตรวจสอบอย่างวิเคราะห์ของความรู้ทุกชนิด ด้วยเหตุฉะนี้ ถ้าไม่มีการสงสัยลึกซึ้งอย่างจริงจังแล้ว ก็มิอาจมีปรัชญา หรือความคิดทางปรัชญาที่แท้จริงได้ แต่ปัญหาที่สำคัญก็คือ เมื่อสงสัยแคลงใจแล้ว เราจะสามารถหาพื้นฐานของความแน่นอนได้อย่างไร และที่ไหน

ประการที่สาม

ในขณะที่เราอุทิศตัวเพื่อความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก โดยใช้หลักความสงสัยเป็นทางนำไปสู่ความแน่นอนนั้น เราไม่ได้คิดถึงตัวเราเองถึงจุดหมายปลายทาง ถึงความสุข เราดูจะลืมตัวเองและมีความพึงพอใจที่จะมห้ความรู้นั้น ๆ สมบูรณ์

แต่สภาพการณ์จะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราวิเคราะห์ตัวเราเองทุกชั่วขณะ เราทุกคนจะอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งซึ่งผันแปรไปไม่คงที่อยู่ตลอด เวลา ตัวเราเองอาจมีส่วนช่วยให้สถานการณ์นี้ผันแปร แต่สถานการณ์บางอย่างนั้นสารัตถะไม่เคยเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอกจะดูแตกต่างออกไป และอิทธิพลมหาศาลของสถานการณ์นั้น ๆ อาจปรากฏคลุมเครือไม่ประจักษ์ชัด

ฉันจะต้องตาย ฉันจะต้องมีความทุกข์ ฉันจะต้องต่อสู้ ฉันจะต้องเผชิญกับความบังเอิญ ฉันยังจะต้องพัวพันกับการทำบาปไม่มากก็น้อย จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เหล่านี้เป็นสถานการณ์พื้นฐานของชีวิต หมายถึงสถานการณ์ที่เราทั้งไม่อาจหลีกเลี่ยง และทั้งไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอื่นได้ การมีจิตสำนึกในสถานการณ์พื้นฐานนี้เป็นต้นเหตุที่ลึกซึ้งของปรัชญายิ่งไป กว่าความแปลกใจและความสงสัยเสียอีก ในชีวิตธรรมดาประจำวันเราพยายามบ่อยครั้งที่จะไม่นึกถึงมันโดยหลับตาเสีย และดำรงชีวิตอยู่ต่อไป เสมือนกันบว่าไม่มีีสถานการณ์เช่นนั้้น เราลืมว่าเราต้องตาย เราลืมว่าเราอยู่ในฐานะที่จะทำผิดและทำบาป และจะต้องเผชิญกับความบังเอิญ เรามัวยุ่งอยู่กับสถานการณ์อื่น ๆ ซึ่งเราอาจมีอำนาจหันเหเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลดีต่อตัวเราเอง และซึ่งเราอาจมีปฏิกิริยาโต้ตอบได้ โดยการวางแผนและโดยการกระทำต่าง ๆ เพราะได้รับการกระตุ้นจากความปรารถนา จากผลประโยชน์ของการมีชีวิตอยู่ แต่ในกรณีสถานการณ์พื้นฐานนี้ เราอาจมีปฏิกิริยาโต้ตอบได้สองทางด้วยกัน คือแสร้งทำครุมเครือเลอะเลือนไม่สังเกตุเห็น หรือมิฉะนั้น ถ้าเราเอาจริงเอาจิงก็คือหมดความอาลัยตายอยาก และการเปลี่ยนแนวความคิดและวิถีชีวิตใหม่ การเปลี่ยนจิดตสำนึกที่เกี่ยวกับชีวิต และการ "ดำรงอยู่"

เมื่ออยู่ในภาวะที่สุขสบาย เราก็ยินดีปรีดาเฉลิมฉลองอย่างเต็มที่ มีความไว้เนื้อเชื่อใจโดยปราศจากการไตร่ตรอง ไม่รู้จักสิ่งอื่นใดนอกจากปัจจุบัน ในความทุกข์ ความหมดอำนาจ ความอยู่ในฐานะที่ไม่อาจจะทำอะไรได้ เราก็ต้องอยู่ในห้วงของความหมดหวัง แต่ถ้าเราผ่านพ้นมาได้และยังมีชีวิตอยู่ ไม่ช้าเราปล่อยให้ตัวเราเองลืม และค่อยกลับไปหาชีวิตที่สนุกต่อไป

แต่มนุษย์ดูฉลาดขึ้นจากประสบการณ์ดังกล่าว การได้รับการคุกคามบังคับให้มนุษย์พยายามแสวงหาสิ่งยึดมั่น และคิดไปว่าการเอาชนะธรรมชาติและประชาคมของมนุษย์เองจะเป็นสิ่งประกันชีวิต และการดำรงอยู่

มนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติ และด้วยความรู้และเทคนิคของมนุษย์ ธรรมชาติความเป็นประโยชน์และเป็นที่พึ่งพาอาศัยที่แน่นอนได้ของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มนุษย์ไยังไม่สามารถเอาชนะหรือควบคุมธรรมชาติได้อย่างที่ใจนึก ธรรมชาติยังอยู่ในฐานะที่จะคุกคามและทำลาย มนุษย์ยังไม่สามารถขจัดความลำบากยากแค้น ความเจ็บป่วย ความชรา และความตาย ธรรมชาติที่มนุษย์สามารถควบคุมให้ยังความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือได้เป็นเพียง ส่วนน้อยภายในธรรมชาติซึ่งหาขอบเขตมิได้ และซึ่งอยู่นอกเหนือความเอาชนะของมนุษย์ และอยู่ในฐานะที่จะคุกคามมนุษย์ได้ทุกเมื่อ

นอกจากนั้น มนุษย์ยังรวมกันเป็นประชาคม โดยพยายามที่จะลดระดับและปริมาณการต่อสู้ ซึ่งไม่มีวันสิ้นสุดให้ลดน้อยลง และในที่สุดให้หมดสิ้นไป หวังว่าโดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มนุษย์จะได้มาซึ่งความมั่นคงปลอดภัย

ผลสำเร็จอขงความพยายามดังกล่าวก็มีขอบเขตจำกัด เพราะในรัฐที่มีพลเมืองทุกคนยืนหยัดปฏิบัติต่อเพื่อนพลเมืองคนอื่นเสมอ เหมือนกัน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริงแล้วจึงจะเกิดความยุติธรรมและ เสรีภาพเป็นส่วนรวมในรัฐนั้น เมื่อใดที่อธิรรมเกิดขึ้น และพลเมืองทุกคนยืนหยัดต่อสู่เป็นคน ๆ เดียว เมื่อนั้นสังคมจึงจะให้ความมั่นคงปลอดภัยที่แน่นอนได้ แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น จะมีเพียงมนุษย์เป็นส่วนน้อยที่ยืนหยัดช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อื่น ๆ อย่างแท้จริง และจนถึงที่สุด ไม่มีรัฐใด ศาสนจักรใด หรือสังคมใด ที่ให้การปกป้องอย่างเต็มที่และอย่างสมบูรณ์ การปกป้องเช่นนั้นเป็นเพียงการหลงผิดที่งดงาม เกิดขึ้นในระยะเวลาที่บ้านเมืองหรือสังคมนั้นมีความราบรื่น แต่เป็นเพียงความฝันซึ่งไม่อาจเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาได้

ทางด้านหนึ่งนั้นมีความไม่อาจยึดมั่นเชื่อถือ ความไม่แน่นอนของโลก แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังมีสิ่งที่ทรงคุณค่าควรแก่การเชื่อถือ สิ่งที่ก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ พื้นฐานที่ยังความสำคัญแก่ชีวิตและการดำรงอยู่ บ้านเกิดเมืองนอนและภูมิประเทศ บิดามารดาและบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องและมิตร ครอบครัว นอกจากนี้ยังมีมรดกที่ตกทอดมา ภาษา ศาสนา งานที่สำคัญทางวรรณคดี ปรัชญา และศิลปะต่าง ๆ

ถึงแม้ในสิ่งเหล่านี้ ก็ใช่ว่าจะมีความปลอดภัย มั่นคง แน่นอน และก่อให้เกิดความยึดมั่นเชื่อถือได้เต็มที่ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏต่อเรา ประจักษ์แก่เรา และตกทอดมาถึงเรา ต่างเป็นผลงานของมนุษย์เองทั้งสิ้น และต่างก็มีปัญหาในตัวเอง ทุกยุคทุกกาลสมัย มนุษย์ก็คงต้องพยายามหาอยู่ต่อไปว่าอะไำรคือความแน่นอน อะไรที่คงอยู่และไม่สลาย และอะไรคือสิ่งที่ยึึดถือได้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกชี้ให้เห็นแต่สิ่งตรงข้าม ชี้ให้เห็นว่าไม่มีอะไรที่พอดีพองาม ไม่มีอะไรที่เป็นการเพียงพอ

สถานการณ์พื้นฐาน อัันได้แก่ ความตาย ความบังเอิญ บาปและความผิด และควาไม่แน่นอทั้งหลายในโลก ชี้ให้ฉันเห็น ถึงความผิดหวังและความล้มเหลว ฉันจะทำอย่างไรดีท่ามกลางความผิดหวังและความล้มเหลวดังกล่าว ในการพินิจพิเคราะห์ที่ไม่หลอกลวงตัวเองแล้ว ฉันย่อมไม่อาจเห็นเป็นอย่างอื่น

สิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ก็คือ เรามีความรู้สึกได้รับการกระทบกระเทือนอย่างไรแค่ไหนที่ต้องเผชิญกับความ ผิดหวังล้มเหลว ประสบการณ์นี้ยังคงมีความหมายคลุมเครือไม่ประจักษ์แจ้ง หรือว่าเราสามารถมองเห็น เข้าใจ และซาบซ่านในความหมายของประสบการณ์นี้อย่างกระจ่างแจ้ง และพิจารณาเห็นเป็นขอบเขตจำกัดการดำรงอยู่ของเรา หรือว่าภายหลังประสบการณ์เราสามรถค้นพบการแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยมและด้วยเหตุ นี้จึงพบความสงบทางจิตใจ หรือว่าเป็นประสบการณ์ที่ยังความกระทบกระเทือนใจก็จริงอยู่ แต่ทว่าจำต้องรับเอาโดยไม่ปริปากในความเงียบ เพราะเพียงแต่ตระหนักว่ากำลังเผชิญอยู่กับสิ่งที่ไม่อาจอธิบายได้ มนุษย์มีปฏิกิริยาอย่างไรต่อสถานการณ์พื้นฐานนี้ ก็จะเป็นแนวความคิดแก่ตัวเราเองว่า มนุษย์นั้นเกิดมาเพื่ออะไร

กล่าวโดยสรุปแล้ว ประสบการณ์ในสถานการณ์พื้นฐานอาจทำให้มนุษย์มองเห็นความไมีมีอะไร ความไร้สาระ และความว่างเปล่า หรือมิฉะนั้นก็อาจทะให้เกิดความรู้สึกว่า ถึงแม้สิ่งทั้งหลายแหล่ที่เกี่ยวกับโลกจะไม่เที่ยงแท้แน่นอน ก็น่าจะมีอะรที่อยู่เหนือโลกออกไป อีกนัยหนึ่ง มนุษยืแสวงหาความช่วยเหลือ ความปลอดัย ความหลุดพ้น และความแน่นอน และศาสนาที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายต่างก็ได้เสนอสิ่งที่มนุษย์แสวงหา ตลอดจนแนะแนวที่มนุษย์จะได้มาซึ่งสิ่งนั้น โดยประกันในความจริงและความเป็นจริงของควมหลุดพ้น หรือความปลอดภัยแน่นอนดังกล่าว การประกันเช่นนี้ปรัชญามอาจกล้าหยิบยื่นให้ ถึงกระนั้นก็ตาม ความคิดทางปรัชญาทั้งหลายก็นับว่าเป็นความพยายามที่จะเอาชนะโลก อยู่เหนือโลก จุดประสงค์ก็อาจจะคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับศาสนา เมื่อคำนึงถือภาวะของปรัชญายุคปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงกว้้างขวางลึกซึ้งที่สุดยุคหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ของโลก ต้นเหตุ ๓ ประการที่ทำให้เกิดปรัชญา ความแปลกประหลาดใจ ความสงสัยแคลงใจ และความตระหนักหรือการมีจิตสำนึกในสถานการณ์พื้นฐานเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะยังใช้ได้อยู่ แต่ก็อาจไม่เพียงพอเสียแล้ว เพราะความ "ยังใช้ได้อยู่" ทั้ง ๓ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง คือการติดต่อให้เข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์ (Communication)

ในสมัยก่อน ความผูกพันระหว่างมนุษ์ืกับมนุษย์นับเป็นสิ่งธรรมดาในประชาคมที่สมาชิกไว้ เนื้อเชื่อใจหันหน้าเข้าหากัน ในสถาบันต่าง ๆ และในกลุ่มชนที่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกัน ถึงกระนั้นก็ตามยังมีผู้ที่มีความคิดโดดเดี่ยวอยู่เสมอในปัจจุบัน ข้อสังเกตที่ยังความตระหนกมากที่สุด ก็คือ มนุษย์มีจำนวนมากขึ้นทุกทีที่ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน เผชิญกันแล้วก็แยกย้ายหันหลังให้กัน ถึงจะร่วมกันแต่ก็ด้วยความเฉยเมย ความสัตย์ ความภักดี ความเป็นสมาชิกประชาคมที่ดี มิใช่เป็นสิ่งธรรมดาสามัญเสียแล้ว

อาจเป็นไปได้ ที่ในความโดดเดี่ยวนั้นมีความจริงประหารหนึ่งซึ่งมีความหมายลึกซึ้งสำหรับ ฉัน ที่ทำให้ฉันรู้สึกว่ามีความพอเพียง และความลำบากอันเกิดจากการขาดการติดต่อ หรือประโยชน์ของการที่มีีการติดต่ออย่างดีนั้นในตัวองมันเองแล้ว ก็มิได้เก่ี่ยวข้องกระทบกระเทือนฉันในทางปรัชญา ถ้าฉันเชื่อมั่นในความจริงและในความโดดเดี่ยวอย่างสมบูรณ์ แต่ทว่าฉันเป็นฉันทุกวันนี้ก็เพราะได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ติดต่อกับผู้อื่น ลำพังตัวคนเดียวฉันจะไม่เป็นอะไรเลย

การติดต่อมิใช่เพียงจากความคิดถึงความคิด จากจิตถึงจิต แต่ทว่าจากชีวิตถึงชีวิต มีคุณลักษณะและเหตุผลเป็นเพียงสื่อ สื่อมิใช่เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ แต่เพื่อมนุษย์จะได้ใกล้ความเป็นมนุษย์เข้าไปอีก ฉันเชื่อมั่นในความ "เป็น" ของตัวฉันเอง ก็ในการติดต่อและในการติดต่อนี่เองที่ความจริงทั้งหลายสามารถปรากฏให้ ประจักษ์ ในการติดต่อ ฉันเป็นตัวฉันเอง ในการติต่อฉันมิไำด้เพียงมีชีวิตอยู่ แต่ทำหน้าที่ขแงชีวิตอย่างสมบูรณ์

ฉะนี้ เหตุเริ่มต้นของปรัชญาจึงอยู่ที่ความแปลกใจ ความสงสัยประสบการณ์ของภาวะพื้นฐาน และท้า่ยที่สุด อยู่ที่ความปรารถนาเพื่อให้มีการติดต่อที่แท้จริง เป็นที่ประจักษ์ตั้งแต่เริ่มแรกแล้วว่า ปรัชญาทั้งหลายผลักดันตัวเองให้เป็นที่ปรากฏ ให้พูดแถลงตัวเอง ให้ได้รับการได้ยิน และแก่นของปรัชญาก็อยู่ที่ได้แจ้งแถลงไข.
--
ที่มา : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ : ปรัชญา (ชุมนุมบทความทางวิชาการ ถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในโอกาสที่พระชนม์ครบ 80 พรรษา บริบูรณ์

THAI CADET

 

© 2547-2566. จัดทำเป็นวิทยาทาน โดย THAI CADET

Made with Pingendo Free  Pingendo logo