มนุษย์ - ประวัติศาสตร์

ถ้าปราศจากประวัติศาสตร์ไว้ช้าเหตุการณ์เหล่านี้ก็จะจมลงสู่ห้วงที่ ว่างเปล่าแห่งความลืม เพราะมนุษย์ไม่มีส่วนร่วมในความเป็นอมตะของพระเจ้า การกระทำของมนุษย์จึงต้องการประวิตศาสตร์ เพื่อที่ว่าการกระทำหรือเหตุการณ์เหล่านี้จะมีชีวิตยืนยาวกว่ามนุษย์ซึ่ง เป็นผู้กระทำและเป็นผู้ก่อเหตุการณ์เอง
 

โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ : ปรัชญา 
ชุมนุมบทความทางวิชาการ ถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในโอกาสที่พระชนม์ครบ 80 พรรษา บริบูรณ์

ได้มีการค้นคว้าวิจัยมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นร่างกายด้วยสรีรศาสตร์ ในฐานะที่เป็นจิตด้วยจิตศาสตร์ และในฐานะที่อยู่ร่วมเป็นประชาคมด้วยสังคมศาสตร์ ส่วนในฐานะประวัติศาสตร์ เรารู้จักมนุษย์ดีขึ้นด้วยการตรวจสอบและวิเคราห์เรื่องราวที่จารึกสืบต่อกัน มา ด้วยการพยายามเข้าใจความหมายของความนึกคิด และการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ ด้วยการอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยคำนึงถึงสาเหตุ จุดประสงค์ สถานการณ์ และความเป็นจริง จริงอยู่ วิธีการค้นคว้าทั้งหลายเหล่านี้ทำให้เรารู้มากขึ้น แต่ก็ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับมนุษย์อย่างละเอียดลออและโดยสมบูรณ์ นั้น ดูออกจะเป็นได้ได้โดยยาก หรือมิฉะนั้นก็เป็นไปไม่ได้เลย ถึงแม้ความก้าวหน้าในปัจจุบันจะรุดไปไกลเพียงไร

เมื่อกล่าวถึงมนุษย์ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงโลกด้วย "มนุษย์และโลก" คำเชื่อม "และ" นี้มีความสำคัญต่อมนุษย์ แต่ไม่มีความจำเป็นต่อโลก เพราะเราคิดแยกโลกธรรมชาติให้ดำรงอยู่ตามลำพังโดยไม่ต้องมีความสัมพันธ์กับ ชีวิตนั้นไ้ด้ แต่ไม่อาจนึกภาพมนุษย์ได้โดยปราศจากโลก เรามีชีวิตอยู่ตั้งแต่ลมหายใจแรกจนถึงลมหายใจสุดท้ายพัวพันอยู่กับโลก เรามาสู่โลก ไม่ใช่โลกมาสู่เรา และเราจากโกไปในขณะที่โลกยังดำรงอยู่ต่อไปโดยไม่แยแสกับเรา

โลกซึ่งเราอยู่ในและอยู่กับนี้ มิใช่จะเป็นโลกแห่งประวัติศาสตร์ และมนุษย์ก็มิใช่จะเป็นมนุษย์ในแง่ของประัวัติศาสตร์โดยอัตโนมัติเสียที เดียว การเขียนประวัติศาสตร์มิใช่การเขียนประวัติชีวิตของบุคคลหรือของกลุ่มสังคม ใดสังคมหนึ่ง แต่เป็นเหตุุการณ์ทาง การเมืองซึ่งกระทบกระเทิอนต่อการกระทำ และโชคชะตาของประชาชาตินั้น ๆ และเพราะเกี่ยวกับเหตุการ์ืทางการเมือง ประวัติศาสตร์จึงพัวพันเป็นประการสำคัญอยู่กับสาวะแวดล้อมของการปกครอง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามวิถี สงครามโลกทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าประวัติศาสตร์มิใช่ประวัติ แห่งวัฒนธรรม หรือประวัติผลงานทางสติปัญญาความนึกคิด มิใช่ประวัติแห่งความคิดเห็น หรือประวัติปัญหาทั้งหลายแหล่ แต่เป็นประวัติศาสตร์โลกตามความหมายทางการเมือง แม้แต่สงครามซึ่งอ้างการขัดแย้งทางศาสนาเป็นต้นเหตุ ก็เป็นต้นเหตุผิวเผินที่ปรากฏอยู่เบื้องบน แต่สาเหตุลึกซึ้งที่แท้จริงนั้นมิอาจหลีกเลี่ยงการเมืองไปได้

ที่ว่า "เหตุผล" หรือ "ปัญญา" และ "สัตว์สังคม (การเมือง)" เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของมนุษย์นั้น เป็นที่ประจักษ์แก่นักปราชญ์ของกรีกโบราณแล้ว อริสโตเติลได้ให้คำจัำกัดความคุณลักษณะของมนุษย์ไว้สองประการ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ มนุษย์นั้นเป็น zoon logon echon สิ่งมีชีวิตที่สามารถพูดเป็นเหตุเป็นผลได้ และ zoon politikon สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นประชาคม logos จึงมีความหมายสองอย่าง คือ "เหตุผล" และ "พูด" เป็นความหายซ้อนซึ่งอาจจะรวจอยู่ในวลีว่า "ความสามารถพูดด้วยเหตุผลและเข้าใจด้วยเหตุผล" ส่วน "ความเป็นสัตว์สังคม" นั้น มีความหมายดั้งเดิมในภาษากรีกจากคำ polis คือการมีชีวิตอยู่อย่างเปิดเผยในประชาคม และมีส่วนร่วมในกิจการของประชาคมนั้น ๆ ทั้งสองนี้นับว่าเป็นปัจจัยธรรมชาติของมนุษย์ แต่อริสโตเติลไม่เคยกล่าวถึง "เหตุผลทางประวัติศาสตร์" หรือ "ประวัติศาสตร์โลก" แต่อย่างใด การนำเอาประวัติศาสตร์เข้ามาพัวพันกับปัญหาทางปรัชญา ซึ่งเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของโลก และของมนุษย์นั้นเพิ่มจะเริ่มต้นด้วย เฮเกล (Hegel) ความคิดที่ว่าปัญหาทั้งหลายทางปรัชญาจะได้รับการพิจารณาได้ก็ด้วยวิถีทางของ ประวัติศาตร์เท่านั้น เป็นความคิดที่เริ่มมาเพียงเมื่อ ๑๕๐ ปีที่แล้วมา แล้วก็หายไปอีก

สำหรับอริสโตเติลดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ไร้เหตุผล ที่เอาปัญหาเกี่ยวกับเหตุผล และาวการณ์ทางการเมืองเข้ามาพัวพันกับประวัติศาสตร์ และอธิบายปัญหาเหล่านั้นในแง่ของประวัติศาสตร์ สิ่งซึ่งเกิดกับเราจากรณีหนึ่งถึงอีกกรณีหนึ่ง ในระยะเวลาที่ผ่านมาตามความคิดเห็นของปราชญ์กรีกโบราณนั้น มิใช่เป็นคุณสมบัติจำเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่ที่จำเป็นและเป็นธรรมชาติวิสัย ก็คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความโน้มเอียงที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมกันกับผู้ที่มีความ คล้ายคลึงกัน (ผิว เชื้อชาติ ความเชื่อถือ) ใน polis หนึ่งใด แต่ในระดับที่สูงมากกว่าระดับของฝูงผึ้ง และฝูงสัตว์เลี้ยง นอกจากความโน้มเอียงของมนุษย์ที่จะอยู่ร่วมกันเป็นประชาคมนี้ มนุษย์ยังมีความสามารถในการเสริมสร้าง และผูกพันประชาคมไว้ด้วยกัน โดยความเข้าใจในภาษาและคำพูด

มนุษย์เป็นมนุษย์ก็ต่อเมื่อเป็นเพื่อนมนุษย์ และจะเป็นเพื่อนมนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อได้ร่วมใช้ชีวิตของตนเองกับมนุษย์อื่น ด้วยการติดต่อเข้าใจกันทางภาษา การเข้าใจซึ่งกันและกันในสิ่งซึ่งให้คุณและให้โทษ ในสิ่งซึ่งถูกต้องและผิด ในสิ่งซึ่งยุติธรรมและอยุติธรรม ในสิ่งซึ่งจริงและไม่จริง เหล่านี้อริสโตเติลพิจารณาเห็นเป็นสิ่งผูกพันการอยู่ร่วมกหันของชีวิตมนุษย์ ทั้งในด้านครอบครัวและด้านประชาคม คุณสมบัติหรือคุณลักษณะสำคัญทั้งสองของมนุษย์ คือ logos และ polis นี้มิได้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แม้แต่น้อย เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ว่าเราอาจพูดถึงมนุษย์ในแง่ที่เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล มีความเข้าใจ และเป็นสัตว์สังคม หรือสัตว์การเมือง โดยไม่มีความจำเป็นต้องยุี่งเกี่ยวอ้างถึงประวัติศาสตร์ ประวิตศาสตร์อาจพัวพันกับมนุษย์ แต่มิได้มีส่วนกำหนดกฎเกณฑ์ในความเป็นมนุษย์ ที่ว่ามนุษย์ดำรงอยู่ในแง่ของประวัติศาสตร์นั้น เป็นความคิดซึ่งเริ่มมาในอดีตซึ่งไำม่นานนัก แต่ทว่ามีจุดเริ่มต้นที่ไกลออกไปอีกในความเข้าใจของโลกตามเทววิทยาของคริสต์ ศาสนา เมื่อจักรวาลกลายเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างสรรค์ขึ้นมา ความนึกคิดเกี่ยวกับ "ประวัติศาตร์" ก็อาจสืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์บุรมบุราณ ซึ่งมีเรื่องการส้รางโลกและการสร้างมนุษย์ด้วย และในที่สุดก็มาให้ความสนใจในมนุษย์ในฐานะที่เป็น "ชีวิตที่ดำรงอยู่ในแง่ของประวัติศาสตร์"

อริสโตเติล ผู้ที่อันที่จริงได้คิดใคร่ครวญใหความเห็นไว้เกี่ยวกับทุกเรื่อง และทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่เรื่องเกี่ยวกับฟ้า ดิน ต้นไม้ สัตว์ การเมือง ศาสตร์ที่ว่าหลักศีลธรรม (ethics) ศิลปะแห่งการพูดและเขียนเพื่อชวนใจคนฟัง (rhetoric) ร้อยกรอง และเรื่องอื่น ๆ ก็ยังมิได้เขียนอะไรไว้เลยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ถึงแม้อริสโตเติลจะเป็นพระสหายของอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งขยายอาณาจักรเข้าไปถึงตะวันออกไกล และนับว่าเป็นผู้สร้างราชอารณาจักรที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์โลก คำกลอนต่าง ๆ นั้นตามความเห็นของอริสโตเติลแล้วเป็นปรัชญามากกว่าประวัติศาสตร์เสียอีก เพราะประวัติศาสตร์มิใช่อื่นไกลนอกจากรายงานของสิ่งซึ่งเกิดขึ้นครั้งเดียว และเป็นเหตุการณ์บังเอิญ หาใช่สิ่งซึ่งจะเป็นเช่นนั้นและดำรงอยู่เช่นนั้นเสมอไป ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น และถึงแม้อริสโตเติลจะคิดเปรียบเทียบที่มีความหมายทางประวิตศาสตร์บ้าง เช่น เกี่ยวกับการเปรียบเทียบระบบการปกครองของรัฐต่าง ๆ หรือคำสอนเก่า ๆ เกี่ยวกับ "physis" อริสโตเติลก็มิได้พิจารณาเนื้อหาลึกซึ้งในแง่ของประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์สำหรับอริสโตเติลมีหน้าที่เพียงเตรียมปัญหาทางด้านสาระ ความรู้เกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองซึ่งมีมากมายหลายชนิดตามยุคสมัยในประเทศ ต่าง ๆ หรือเกี่ยวกับบทเรียนมากหลายก่อนนี้เกี่ยวกับ phisis นั้น ในตัวของมันเองแล้วหาใช่การตระหนักหรือจิตสำนึก หรือการคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไม่ แต่เป็นเพียงพื้นฐานสำหรับปัญหาที่ว่าอะไรที่พอจะเป็ยระบบทางการเมืองที่ ปฏิบัติได้ผลดี หรือคำจำกัดความอันใดของธรรมชาติที่ตรงตามความเป็นจริงของ polis และ physis แต่การที่จะกำหนดว่าอะไรคือ polis และ physis ในความเป็นจริงนั้นมิใช่เป็นเรื่องของการใคร่ครวญทางประวัติศาสตร์ แต่การพิจารณาค้นคว้าและการรู้แจ้งทางปรัชญา

กรีกโบราณมีความประทับใจอย่างลึกซึ้ง ในกณเกณฑ์ความเป็นระเบียบแบบแผนที่หมุนเวียนอยู่ชั่วนิจนิรันดร์ ไม่มีผู้ใดสมัยนั้นที่จะให้ระบบจักรวาลที่ได้รับการจัดแจงเป็นระเบียบเรียบ ร้อยดีแล้วนี้ มีความสัมพันธ์กับความผันแปรไม่แน่นอนของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมนุษย์ในประวัติศาสตร์ของโลก (Herodot, Thukydides และ Polybios) ต่างรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์และการกระทำที่ยิ่งใหญ่ในยุคสมัยของตนไำว้ แต่สงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย ระหว่างอะเธนส์กับสปาร์ตา และความเจริญรุ่งเรืองของโรมจนมีอำนาจเป็นศูนย์กลางของโลก เหล่านี้ ไม่เป็นต้นเหตุให้นักปรัชญาสมัยนั้นประดิษฐ์โครงสร้างปรัชญาทางประวัติ ศาสตร์ขึ้น เหตุผลที่ไม่มีปรัชญาทางประวัติศาสตร์นี้มิใช่เพราะความเพิกเฉยไม่ไยดีต่อ เหตุการณ์ที่สำคัญ แต่เป็นเพราะได้รู้แจ้งเห็นจริงและตระหนักว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดย บังเอิญเพียงครั้งเดียว และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นั้นอย่างดีก็เพียงให้รายงานข่าว เป็นเรื่องราว หรือีกนัยหนึ่งเป็นประวัติศาสตร์ แต่มิอาจเป็น "ความรู้ที่แท้จริง" ได้

มีข้อคิดอยู่เพียงประการเดียว ถึงกระนั้นก็ค่อนข้างสำคัญ ซึ่งนักประวัติศาสตร์กรีกเน้น และเป็นข้อคิดของ ทิวซิดิดีส (Thukydides) ที่ว่า การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองอันเป็นจารึกเรื่องราวในประวัติ ศาสตร์นั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะธรรมชาตินี้จะไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยโดยหลักการ จึงเป็นที่ประจักษ์สำหรับ ทิวซิดิดีสว่า เหตุการณ์ทำนองนี้ในอดีตและปัจจุบันจะเกิดขึ้นเช่นกันในอนาคต ในวิถีทางเดียวกันและคล้ายคลึงกัน อนาคตไม่อาจนำมาซึ่ึ่งสิ่งที่ใหม่อย่างสมบูรณ์ ในเมื่อเป็นธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่างที่จะมีขึ้นแล้วก็สูญหายไป ส่วน โพลิบิอัส (Polybios) คิดถึงกฎทั่วไปของประวัติศาสตร์ทางการเมือง คือวงโคจรของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และการผันแปรอย่างปัจจุบันทันด่วนจากชัยชนะสู่การพ่ายแพ้ แม้แต่ชาวโรมันซึ่งมีความตระหนักในบทบาททางประวัติศาสตร์ของตนเป็นอย่างดี ก็ยังไม่หลงผิดไปตามความคิดเห็นทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ที่เห็นว่าทางเดินของประวัติศาสตร์เป็นการก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้บรรลุถึง จุดมุ่งหมายอันใดอันหนึ่ง การที่ทุกชาติ ทุกรัฐ ทุกเมือง และทุกบุคคลผู้ทรงอำนาจทั้งหลายจะต้องประสบกับจุดจบที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยง และเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้น สำหรับความเข้าใจและความรู้สึกของชาวกรีกและโรมันโบราณมีความหมายเช่นเดียว กับข้อเท็จจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนต้องตาย ขณะที่ Scipio กำลังได่รับชัยชนะและทำลายเมืองคาร์เธชอยู่นั้น ก็ไม่เกรงที่จะกล่าวว่า โชคชะตาเดียวกันนี้ ซึ่งอำนาจของกรุงโรมกำลังก่อกรรมให้แก่ศัตรูอยู่บัดนี้ สักวันหนึ่งข้างหน้าจะต้องได้แก่กรุงโรมเอง เช่นเกียวกับทีไ่ด้ประสบกรุงทรอยมาครั้งหนึ่ง และขณะนี้กำลังเป็นโชคชะตาของกรุงคาร์เธช โพลิบิอัส ซึ่งเป็ยเพื่อนของ สกิปปิโอ (Scipio) ได้บันทึกคำกล่าวนี้และเพิ่มเติมว่า เป็นการยากยิ่งที่จะหาคำพูดใด ๆ ที่แสดงทั้งความเป็นรัฐบุรุษและความสุขุมลึกซึ้งได้มากไปกว่านี้

ในขณะที่ได้รับชัยชนะใหญ่หลวง บุคคลใดยังมีจิตหวนคิดถึงการเปลี่ยนแปรของโชคชะตา บุคคลนั้นย่อมมีคุณค่าควรแก่การเคารพนับถือและระลึกถึง และนี่เป็นความฉลาดสุขุมคัมภีรภาพขั้นสูงสุดของนักการเมืองที่สามารถคิด หรือกระทำโดยปราศจากการหลงผิดและหลวกลวงตัวเอง ดูเหมือนจะต้องใ้ช้ความพยายามเป็นอย่างมากเพื่อจะนึกถึงรัฐบุรุษสมัยใหม่ผู้ ใดไว่ว่าจะในตะวันตกหรือตะวันออก ผู้ซึ่งหลังจากชัยชนะของสงครามโลกครั้งที่สองจะได้กล่าวไว้ว่า "โชคชะตาเดียวกันนี้ ซึ่งเราได้ทำต่อเบอร์ลิน ในวันหนึ่งข้างหน้าจะกลับมาประสบกับมอสโกหรือวอชิงตันเอง" เพราะความตระหนักในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมาร์ก (Marx) หรือกองต์ (Comte) เริ่มสอน ไม่ได้พยายามเข้าใจอีกต่อไปแล้วว่าครั้งหนึ่งในอนาคตจะพบกับอีกครั้งหนึ่งใน อดีต เพราะท่านทั้งสองไม่ต้องการยอใรับข้อเท็จจริงที่ว่า ทุกอย่างในโลกนี้ซึ่งอุบัติย่อมผันแปรสลายไป

ความผันแปรลายตัวไปของทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นมนุษย์ ที่เกี่ยวกับมนุษย์ ซึ่งผิดแปลกอย่างเห็นได้ชัดจากความแน่นอนของการโคจรของดวงดาวในท้องฟ้านี้ เป็นเหตุผลที่ง่ายและกระจ่างแจ้ง ซึ่ง โฮโรโดต์ส (Herodot) อ้างในการรายงานสงครามเปรอ์เซีย เขาค้นคว้าและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิใช่เพราะมีความเห็นเช่นนักปรัชญาทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ กล่าวคือ ประวัติศาสตร์เป็น "Fortschrtii in Bewusstsein der Feriheit" (Hegel) ความก้าวหน้าภายใต้จิตสำนึกของเสรีภาพหรือเพราะประวัติศาสตร์ มีจุดหมายปลายทางที่จะสร้างสรรค์สังคมที่ปราศจากชั้นวรรณะ ภายใน "อาณาจักรแห่งเสรีภาพ" (Marx) หรือเพราะว่าจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์เสริมให้เกิด "การวิพากษ์วิจารณ์ปัจจุบันเพื่อก่อสร้างอนาคต" (Troeltsch) แต่เพราะเฮโรโดต์ส เห็นว่าตัวเขาเองในฐานะที่เป็นกรีก ซึ่งคำที่ใช้เรียก "มนุษย์" มีความหมายเป็นคำเดียวกับ "ผู้ที่ต้องตาย" อันเป็นความรู้สึกที่แท้จริงและลึกซึ้งสำหรับคำวามผันแปรไม่แน่นอน ความอนิจจังของทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นมนุษย์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ เขารู้สึกจำเป็นที่จะต้องจารึการกระทำ หรือเหตุการณ์ืั้ยิ่งใหญ่ไว้เป็นประวัติศาสตร์ เป็นความพยายามเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอมตะไม่มากก็น้อย เพราะถ้าปราศจากประวัติศาสตร์ไว้ช้าเหตุการณ์เหล่านี้ก็จะจมลงสู่ห้วงที่ ว่างเปล่าแห่งความลืม เพราะมนุษย์ไม่มีส่วนร่วมในความเป็นอมตะของพระเจ้า การกระทำของมนุษย์จึงต้องการประวิตศาสตร์ เพื่อที่ว่าการกระทำหรือเหตุการณ์เหล่านี้จะมีชีวิตยืนยาวกว่ามนุษย์ซึ่ง เป็นผู้กระทำและเป็นผู้ก่อเหตุการณ์เอง.
--
ที่มา : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ : ปรัชญา (ชุมนุมบทความทางวิชาการ ถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในโอกาสที่พระชนม์ครบ 80 พรรษา บริบูรณ์

THAI CADET

 

© 2547-2566. จัดทำเป็นวิทยาทาน โดย THAI CADET

Made with Pingendo Free  Pingendo logo