โลก - มนุษย์

ในแง่ของประวัติศาสตร์ ปรัชญาในสมัยกรีกโบราณเริ่มด้วยประสบการณ์จากโลกในฐานะที่เป็น physical cosmos ซึ่งมาเสื่อมคลายลงด้วยคำสอนทางคริสต์ศาสนาที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าและ การสร้างของพระองค์ 
 

โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ : ปรัชญา 
ชุมนุมบทความทางวิชาการ ถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในโอกาสที่พระชนม์ครบ 80 พรรษา บริบูรณ์

โลกไม่ใช่วัตถุ และทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นก็เป็นเพียงทัศนะหนึ่งของการปรากฏ มิใช่โลกที่สมบูรณ์ทุกแง่มุมและทุกทัศนะ โลกนั้นเปิดเผย แต่ไม่สามารถแสดงหรืออธิบายได้ด้วยตัวเองว่าโลกคืออะไร อย่างไรก็ตาม วัตถุหนึ่งที่อยู่ในโลกสามารถอธิบายตัวเองได้ด้วยการอ้างอิงถึงอีกวัตถุ หนึ่งหรือหลายวัตถุ และต่อเนื่องกันไปเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีใครทราบว่าขอบเขตของการค้นคว้าในอนาคตนั้นจะไปหยุดยั้งอยู่ ณ ที่ใด เพราะความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ของความรู้ทางวิทยาศาตร์ทั้งหลายที่เกี่ยวกับ โลก ดูเหมือนจะเป็นว่าด้วยการค้นคว้า มนุษย์พยายามจะไปให้ถึงขอบเขตความสามรถสุดท้าย ถึงจุดที่ความรู้ซึ่งกระจ่างแจ้งที่สุดจะเผยให้เห็นถึงบริเวณแห่งความไม่รู้ เพราะความรู้ที่สมบูรณ์เท่านั้นจึงจะทราบซึ้งถึงความไม่รู้ที่แท้จริง เพราะโลกที่สมบูรณ์แท้จริงนั้นไม่อาจเป็นวัตถุของการสามารถเรียนรู้

คนส่วนมากเห็นว่าหรือทำประหนึ่งว่าโลกหรือวัตถุในโลกเป็นสิ่งแน่นอนมั่นคง และดีสูงสุด แต่ประวัติศาสตร์ตลอดเวลาพัน ๆ ปีมานี้ ได้จารึกเรื่องราวของมนุษย์บางกลุ่มที่ไม่อาจยึดโลกว่าเป็นสิ่งสูงสุด และธรรมชาติทำให้มนุษย์ต้องแสวงหาสิ่งสูงสุดเหล่านั้นต่อไป ถ้าไม่มีในโลกนี้ ก็นอกโลก ฟ้า สวรรค์ ความเป็นหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้า ความสงบที่สมบูรณ์ นิพพาน มนุษย์ที่กายยังอยู่ในโลก แต่ข้ามโลกไป ละทิ้งโลกไป มองไปที่อื่น พยายามปลดเปลื้องตัวเองให้หลุดพ้นจากพันธะของโลก เพื่อจะได้ลิ้มรสความบริสุทธิ์ที่สมบูรณ์ ความคงที่ชั่วนิรันดร์ และปัจจุบันกาลที่ปราศจากอดีตและอนาคตมีนักค้นคว้านักปราชญ์กวี และผู้อยู่ในสมณเพศทั้งโลกทางตะวันตก และตะวันออก ซึ่งมีหน้าที่ประกอบกิจการหาเลี้ยงชีพตามปกติ แต่ทั้งที่พัวพันอยู่กับโลก ก็เป็นหระหนึ่งว่ามาจากโลกภายนอก มองโลกจากข้างนอก บ้านที่แท้จริงนั้นอยู่ห่างไกล แต่มาเจอตัวเองและส่งต่าง ๆ ในโลก และตระหนักได้ว่าส่งเหล่านี้รวมทั้งตัวเองเป็นเพียงการปรากฏชั่วคราว เป็นเพียงความทรงจำ เป็นเพียงแง่หนึ่ง มุมหนึ่งของสิ่งสูงสุด

เรามีชีวิตทุกวันนี้มิใช่ในสิ่งแวดล้อมของโลกธรรมชาติอย่างเดียวเท่านั้น โลกและโลกมนุษย์มิใช่สิ่งเดียวกันและไม่เหมือนกันนัก เรามาสู่โลกและก็จะจากโลกไป โลกมิได้เป็นของมนุษย์ แต่มนุษย์เป็นของโลก

แต่ "โลก" คืออะไร ถ้าไม่ใช่การรวมของทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้จักและไม่รู้จักเมล็ดทราย ต้นไม้ที่มีอายุหลายร้อยปี เครื่องบิน สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของโลก แต่โลกเองไม่เป็น "วัตถุ" เช่นสิ่งอื่น ๆ โลกรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในตัวเองโดยที่ตัวเองมิอาจมีใครให้คำนิยามที่ กระจ่างชัด แน่นอน และที่สมบูรณ์ได้ โลกนั้นกว้างขวางที่สุด รวยที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็ว่างเปล่าประดุจกรอบรูปที่ไม่มีรูป

อริสโตเติลได้เขียนงานขึ้นชิ้นหนึ่ง ชื่อ "ว่าด้วยโลก" เพื่อธิบายความหมายของโลกธรรมชาติ งานชิ้นนี้อริสโตเติลอุทิศให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งอริสโตเติลเองเป็นครูและผู้อบรม การอุทิศนี้ดูเหมือนจะเป็นของธรรมดา เพราะเหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดินองคืหนึ่ง ที่มีส่วนร่วมในการค้นคว้าเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ไพศาลของโลก และอันที่จริงจะมีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่า "โลก"

บทความที่ว่าด้วยโลก (ซึ่งอริสโตเติลใช้คำ cosmos) นี้เริ่มว่า "บ่อยครั้งทีเดียวที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าปรัชญาเป็นเรื่องที่อยู่เหนือโลก โดยเฉพาอย่างยิ่งในขณะที่พิจารณามองดูโลกทั้งหมดตลอดจนความจริงที่ซ่อนเร้น อยู่ในนั้น ความรู้ืที่เกี่ยวกับสิ่งที่ไพศาลที่สุดและสูงที่สุดนั้นเข้ามาพัวพันกับ ปรัชญามากที่สุด" ในฐานะที่เป็นความรู้ที่กว้างขวางที่สุด และสูงที่สุดของสิ่งทั้งหลายแหล่ที่ดำรงอยู่ทั้งหมด ปรัชญาจึงอยู่นอกและเนือโลก นอกและเหนือสังคมแต่ละสมัยของมนุษย์ และมุ่งมองไปยังท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว ท้องฟ้าซึ่งพิจารณาในแง่ของความไพศาลแล้วย่อมนับว่ากว้างขวางที่สุดและสูง ที่สุด และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องของปรัชญา ซึ่งมีหน้าที่ที่จะค้นคว้าถึงความจริงที่ซ่อนอยู่ใน "โลก" ซึ่งเรามองเห็นด้วยตา อริสโตเติลกล่าวต่อไปว่า "ในเมื่อไม่อาจเป็นไปได้ ที่จะละพื้นดินและเหินขึ้นไปในท้องฟ้าด้วยตัวของเราเอง เพื่อจะได้ตรวจสอบโดยใกล้ิชิดบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ จิตและปัญญาของมนุษย์จึงสวมปีกแทนและกล้าที่จะเหินไปสู่ความรู้ที่สูงสุด และนำสิ่งใดที่ไกลแสนไกลในแง่ของระยะทางให้ใกล้เข้ามาในทางจิตและปัญญา"

ใครก็ตามที่บรรยายเพียงสถานที่แห่งหนึ่งหรือแม่น้ำแห่งหนึ่ง ถือว่าผู้นั้นเห็นการณ์ใกล้ เพราะปิดโอกาสสำหรับตัวเองที่จะมองดูโลก - จักรวาล ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุดและแปลกที่สุด บทความนี้ได้บรรยายต่อไปถึงฟิสิกส์และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยละเอียด เช่น เกี่ยวกับองค์ประกอบและการโคจรของดวงดาว ของโลก ของทะเล ลม ไฟ แฟ่นดินไหว ชีวิตพืชและสัตว์ "โลก" ในที่นี้หมายถึงทั้งท้องฟ้า (ouranos) ของโลก (cosmos) โดยใช้ทั้งสองคำปะปนกันโดยไม่สังเกตความแตกต่าง อย่างไรก็ตาม ส่วนมากใช้ ouranos เมื่อหมายถึงสิ่งที่ครอบคุลท้องฟ้าที่ไพศลาที่สุด และ cosmos เมื่อหมายถึงรายละเอียดของระบบขององค์ประกอบ "โลก" จึงเป็น systema หรือความเป็นระเบียบ ทั้งนี้ มิได้หมายความถึงความเหมาะเจาะสอดคล้องซึ่งกันและกันโดยง่าย แต่เป็นการประสานกันของสิ่งที่ตรงข้าม หนักและเบา อุ่นและเย็น แห้งและชุ่มชื้น บทความนี้อธิบายถึงกฎเกณฑ์ความเป็นระเบียบของสิ่งที่ไม่เป็นระเบียบ โดยการเปรียบเทียบ cosmos กับ polis กล่าวคือ ใน polis ที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ย่อมสามารถธำรงไว้ซึ้งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมที่ประกอบด้วย มนุษย์ที่แตกต่างกัน หนุ่มและชรา หญิงและชาย จนและรวย อ่นแอและเข้มแข็ง อบรมมาดีและไม่ดี ฉันใด ความเป็นระเบียบเรีบร้อยของจักรวาลก็เป็นการประสานคล้องจองกันของสิ่งที่ มุ่งออกจากกันโดยธรรมชาติ ฉันนั้น

แต่ตอนท้ายของบทความ อริสโตเติลได้คลายน้ำหนักการเปรียบเทียบระหว่างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ จักรวาล กับความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคมและการเมืองของมนุษย์ "ระเบียบที่ไหนเล่าจะเท่ากับระเบียบของท้องฟ้า" เช่น วงโคจรของดวงดาวของดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลางวันกลางคืน ฤดูร้อนและฤดูหนาว กระแสน้ำในทะเล ตลอดจนการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงสลายผุพัง ระบบและระเบียบที่ประจักษ์อยู่ในท้องฟ้า อริสโตเติลเรียกว่า anank และ moira (โชคชะตาที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้) anank หรือ dstiny นี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างที่เป็นอยู่ คือ สิ่งที่เป็นอยู่ขณะนี้ เป็มนมาแล้ว และที่จะเป็นต่อไป ปรัชญาตั้งแต่อริสโตเติลมาจนถึงเฮเกล มิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นใดนอกจากสิ่งที่จำเป็นและสิ่งที่เป็นอยู่เสมอ มิใช่เกี่ยวกับสิ่งที่ครั้งหนึ่งเป็นอย่างนี้ แะอีกครั้งหนึ่งเป็นอย่างอื่นอันเนื่องจากเป็นการบังเอิญ

"โลก" เช่นนี้เป็นทัศนภาพของปรัชญากรีกโบราณ ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับทัศนภาพของคนปัจจุบัน ถึงหระนั้นก็ตาม เราก็จำแนกเห็นข้อแตกต่างอยู่ทุกวันระหว่างฟ้ากับดิน สิ่งซึ่งเป็นระเบียบกับไม่เป็นระเบียบ สิ่งซึ่งจำเป็นกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ และพิจารณาว่าเป็นสิ่งปกติในการโคจรที่มีกฎเกณฑ์ของดวงเดาว และในระบบธรรมชาติของการเกิดมีขึ้นและสลายต่อไปของทุกอย่างในโลก แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็ไม่อาจเลี่ยงที่จะต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์และ ระเบียบในการค้นคว้า การคิดคำนวณมิอาจมีพื้นฐานอยู่บนความเอาแต่ใจหรืออารมณ์ของสติปัญญา แต่บนสิ่งซึ่งมีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ หรือบนสิ่งที่พอสามารถยืดถือได้ สิ่งซึ่งดำรงอยู่อย่างปะปนยุ่งเหยิง ไม่มีกฎเกณฑ์นั้นมิอาจค้นคว้าตรวจสอบหาความรู้ได้

เบคอน (Bacon) แยกความแตกต่างระหว่าง "natural philosophy" และ "human philosophy" (The Philosophical Works of F. Bacon, London 1905 หน้า ๙๑ [of the Advancement of Learning II]) โดยเน้นความสำคัญของปรัชญาประการหลัง ทั้งนี้ โดยมีพื้นฐานมาจากการแยกความแตกต่างทางคริสต์ศาสนาระหว่างมนุษย์กับโลก ซึ่งถทอว่ามนุษย์ในฐานะที่เป็นาพสะท้อน (Image) ของพระผู้เป็นเจ้า จึงมีความสำคัญต่อพระองค์ โดยหลักการมากกว่าสิ่งทั้งหลายทั้งแหล่ที่พระองค์สรา้งขึ้น แต่สำหรับความคิดของปราชญษกรีกโบราณนั้นมนุษย์ซึ่งตายได้ มิได้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หรือสูงที่สุดของธรรมชาติ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือดวงดาวที่เคลื่อนไหวเองอยู่เสมอชั่วนิรันดร์ (Aristoteles, Nic. Ethik 114 a 19 ff.) ปาสกาล (Pascall) ก็เห็นเป็นทำนองเดียวกับเบอคอนว่า (pensees 739 และ 347) ทั้งจักรวาลก็มิอาจมีน้ำหนักให้ความสมดุลย์ต่อความคิดแม้แต่ประการเดียวของ มนุษย์ เพราะมนุษย์รู้เกี่ยวกับตัวเองและโลก แต่โลกไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับตัวเองและมนุษย์ ความคิดเช่นนี้ก็มีพื้นฐานจาก "ชีวิต" ตามแนวความคิดของคริสต์ศาสนา ความคิดเช่นนี้ย่อมเป็นของแปลกสำหรับประสบการณ์จากโลก และจากตัวเองของกรีกโบราณ

ในแง่ของประวัติศาสตร์ ปรัชญาในสมัยกรีกโบราณเริ่มด้วยประสบการณ์จากโลกในฐานะที่เป็น physical cosmos ซึ่งมาเสื่อมคลายลงด้วยคำสอนทางคริสต์ศาสนาที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าและ การสร้างของพระองค์ และที่สุดในสมัยซึ่งสร้างโลกจากจิตสำนึกในตัวของมนุษย์เอง ใครที่เริ่มต้นด้วยการอ้างอิงพระผู้เป็นเจ้าและการสร้างของพระองค์ว่าเป็น หลัก เป็นต้นเหตุสำคัญและต้นเหตุเดียวเท่านั้นของสิ่งอื่น ๆ ซึ่งการดำรงอยู่ทั้งหลาย และคิดว่ามนุษย์เป็นภาพเทียมหรือภาพสะท้อนของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ก็มิอาจมีความคิดเดียวกันในเรื่องมนุษย์และโลกเช่นเดียวกับนักปราชญ์ในระยะ ก่อนโสคราเทส ซึ่งเริ่มต้นด้วย cosmos และเห็น cosmos เท่าเทียใพระเจ้า และเรียกมนุษย์ด้วยคำว่า "mortal" เจ้าผู้ต้องตาย และความคิดเช่นนี้ของกรีกโบราณและของคนผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่เกี่ยวกับโลก และมนุษย์ก็แตกต่างไปจากความคิดของคนสมัยใหม่ซึ่งได้รับ "การปลดปล่อย" ให้มี "เสรีภาพ" ผู้ถือจุดเริ่มต้นจากตนเอง มิใช่จาก cosmos และจากพระผู้เป็นเจ้า

เมื่อมนุษย์มิได้เป็นเพียงสัตว์ในโลกที่สามารถพูดและปราดเปรื่องในศิลปะต่าง ๆ ได้เท่านั้น แต่ได้กล่ยเป็นผู้เท่าเทียมพระผู้เป็นเจ้า เป็น partner ของพระองค์แล้ว ก้าวต่อไปก็คือการสร้างโลกสมัยใหม่ด้วยพลังสติปัญญาของการคิดค้นของมนุษย์ เอง และเมื่อมนุษย์ทุกวันนี้มิได้มีความเกรงกลัวอำนาจของธรรมชาติและจักรวาล มิได้เคารพนับถือให้ความสำคัญต่อการเกิดการตายว่าเป็นเหตุการณ์พท้นฐานของ ชีวิตทั้งหลายทั้งแหล่ในโลก ก็อาจเป็นเพราะคริสต์ศาสนาเองที่ไม่ถือว่า cosmos เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไม่พิจารณาเห็นโลกในฐานะ cosmos อีกต่อไป ด้วยความสามารถทาง techne มนุษย์กำลังจะทำให้ความคิดของปราชญ์กรีกโบราณที่กล่าวมาแล้วข้างต้นให้เป็น จริงเป็นจังขึ้นมาได้ โดยการสามารถนำตัวเองขึ้นไปในอวกาศ แต่มิใช่เพื่อไปสักการะหรือนิยมชมชื่น "บริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์" แต่ทว่าเพื่อขยายขอบเขตของ "การเป็นเจ้าเข้าครอง" ถึงกระทั้งก็ดี โลกที่เราอยู่ก็ไม่เคยเป็นโลก "ของเรา" และไม่อาจพิจารณาเป็นสิ่งเดียวกับโลกมนุษย์ โลกยังคงเป็นตัวของตัวเองอยู่ เหนือมนุษย์ และดำรงอยู่ได้โดยตามลำพังโดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ สมมุติว่าวันหนึ่งมนุษย์สามารถ "เป็นเจ้าของ" เข้าบังคับบัญชาโลกธรรมชาติได้โดยสมบูรณ์ และทำให้การเปรียบเทียบของเบคอนที่ว่า ความรู้เป็นอำนาจ เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์ วันนั้นมนุษย์ก็คงไม่เป็นมนุษย์ และโลกก็คงไม่เป็นโลกอีกต่อไป.
--
ที่มา : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ : ปรัชญา (ชุมนุมบทความทางวิชาการ ถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในโอกาสที่พระชนม์ครบ 80 พรรษา บริบูรณ์

THAI CADET

 

© 2547-2566. จัดทำเป็นวิทยาทาน โดย THAI CADET

Made with Pingendo Free  Pingendo logo