การสอนจริยศาสตร์ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นมหาวิทยาที่เน้นทางด้านวิชาชีพสุขภาพ ได้มีการนำเอาวิชาจริยศาสตร์ศึกษาเข้าไปสัมพันธ์กับวิชาชีพสุขภาพ อันเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาจริยธรรมในวิชาชีพ และได้มีการนำเอาวิชาจริยศาสตร์ศึกษาไปสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น ๆ ด้วย โดยเน้นให้เห็นถึง ปัญหาจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ เหล่านั้น ซึ่งเป็นการสะท้อนความสนใจ และความต้องการของสังคมปัจจุบันได้มากยิ่งขึ้นด้วย
เป็นที่ทราบกันดีว่า ในสังคมปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะในประเทศพัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาก็ตาม การศึกษามีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ ความคิด ทักษะ และทัศนคติของประชาชนในสังคมนั้น ๆ เพื่อให้ประชาชนรู้จักตนเอง รู้จักชีวิต รู้จักโลก และสังคมที่ตนอยู่ได้ดีขึ้น และในขณะเดียวกันก็นำความรู้ที่ตนได้นั้นมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ตลอดจนคุณภาพของสังคมที่ตนอยู่ให้ดีขึ้น
จริงอยู่ความ รู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยเสริมสร้างสังคมให้วิวัฒนาการไปได้อย่าง รวดเร็ว แต่นอกเหนือจากความเจริญงอกงามทางวัตถุซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วย สร้างสรรค์ให้แล้ว ประชาชนในสังคมสมควรได้รับการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปด้วยวิวัฒนาการของสังคมจึง จะสมบูรณ์เต็มที่ การพัฒนาทางจิตใจนั้นจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อประชาชนได้รับการศึกษาในเรื่องคุณ ค่าต่าง ๆ ที่มนุษย์ยึดมาประพฤติปฏิบัติ กล่าวคือ ประชาชนในสังคมได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของสังคมของตน รู้ว่าอะไรคือชีวิตที่ดีสำหรับมนุษย์ อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ควรปฏิบัติ อะไรคือคุณค่าที่ถูกต้อง นั่นคือ ในทุกสังคมมีการศึกษาเกี่ยวกับจริยธรรมหรือวิชาจริยศาสตร์ เพื่อสร้างสังคมที่สมบูรณ์ทั้งคุณภาพ และคุณธรรมให้เกิดขึ้น
สถาบันการศึกษาไม่ว่าระดับใด ถือเป็นภาระหน้าที่หลักในการที่จะต้องจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ดัง กล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งเป็นส่วน “ต่อยอด” การศึกษาให้สมบูรณ์ และพัฒนาคนให้เป็น “บัณฑิต” สมดังความหมาย สมควรได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิชาจริยศาสตร์ศึกษาในการพัฒนาสังคม
ภาควิชามนุษยศาสตร์จึงมีความประสงค์จะเปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาจริยศาสตร์ศึกษาขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญทางด้านจริยศาสตร์ศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศชาติ ตามที่ได้กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตรดังต่อไปนี้
• เพื่อผลิตนักวิชาการทางด้านจริยศาสตร์ศึกษา โดยมุ่งเน้นให้นักวิชาการเหล่านี้มีความรู้ 3 ด้านคือ
ประการแรก เพื่อให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาจริยศาสตร์ศึกษา เพื่อจะเป็นนักวิชาการทางด้านจริยศาสตร์ศึกษาอย่างแท้จริง
ประการที่สอง เพื่อให้นักวิชาการเหล่านี้มีความรู้ทางด้านการวิจัย เพราะในปัจจุบันยังมีงานวิจัยทางด้านจริยศาสตร์ศึกษาโดยตรงน้อยมาก โครงการบัณฑิตศึกษาด้านจริยศาสตร์ศึกษาจึงมุ่งส่งเสริมการวิจัยในขอบเขตต่าง ๆ ที่มิใช่ด้านทฤษฎีอย่างเดียว หากแต่จะนำเอาปัญหาทางด้านจริยธรรมของมนุษย์ในสังคมมาวิเคราะห์ด้วย และ
ประการสุดท้าย การผลิตนักวิชาการทางด้านจริยศาสตร์ศึกษาจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เมื่อบุคคลเหล่านี้สามารถนำเอาวิชาการทางด้านจริยศาสตร์ศึกษาไปสอน และฝึกอบรมตามสถาบันต่าง ๆ
• เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ทางด้านจริยศาสตร์ศึกษาให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการยกสถานะ ของวิชาจริยศาสตร์ศึกษาอย่างแท้จริง เนื่องจากวิชาจริยศาสตร์ศึกษาที่สอนกันอยู่ในสถาบันการศึกษาระดับสูง ในปัจจุบันเป็นเพียงวิชาเสริมเท่านั้น ยังมิได้มีการเปิดสอนวิชาจริยศาสตร์ศึกษาเป็นวิชาเอกในมหาวิทยาลัยใดเลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการสอนจริยศาสตร์ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นมหาวิทยาที่เน้นทางด้านวิชาชีพสุขภาพ ได้มีการนำเอาวิชาจริยศาสตร์ศึกษาเข้าไปสัมพันธ์กับวิชาชีพสุขภาพ อันเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาจริยธรรมในวิชาชีพ และได้มีการนำเอาวิชาจริยศาสตร์ศึกษาไปสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น ๆ ด้วย โดยเน้นให้เห็นถึง ปัญหาจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ เหล่านั้น ซึ่งเป็นการสะท้อนความสนใจ และความต้องการของสังคมปัจจุบันได้มากยิ่งขึ้นด้วย