ชาวพุทธกับชาวคริสต์ : บทสนทนาเรื่องอิสรภาพ

พุทธศาสนา ยังขาดทฤษฎีและการปฏิบัติที่ชัดเจน ในการแก้ไขปัญหาความทุกข์ทางสังคมการเมืองของชนชั้นที่เสียเปรียบใน สังคมอย่างเป็นณุปธรรม พุทธศาสนาจึงจะสามารถเรียนรู้ทรรศนะทางสังคมการเมืองจากเทววิทยาแห่งการปลด ปล่อยได้ค่อนข้างมาก
 

ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
อาจารย์ประจำภาควิชามนุษยศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสนาที่สำคัญทุกศาสนาในโลก รวมทั้งพุทธศาสนากับศาสนาคริสต์ได้กล่าวถึงปัญหาในเรื่องความทุกข์ของมนุษย์ กับอิสรภาพที่พ้นไปจากความทุกข์นั้น ความทุกข์ของมนุษย์ที่มีอยู่ด้วยกันสองชนิดคือ ความทุดข์ทางจิต และความทุกข์ทางสังคมการเมือง พุทธศาสนาได้ให้วิธีการอันทรงพลังและเป็นเอกลักษณ์ในการแก้ปัญหาความทุกข์ ทางจิตของมนุษย์ ในขณะที่ศาสนาคริสต์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย" (Liberation Theology) ได้ให้ทรรศนะและแนวทางปฏิบัติที่เป็นจริง ในการแก้ปัญหาความทุกข์ทางสังคมการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ประชาชนในโลกที่สาม ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธและชาวคริสต์สามารถจะเรียนรู้จากกันและกันได้ค่อนข้างมาก

1. อิสระภาพในทางจิตใจ

พุทธศาสนา เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นศาสนาที่เน้นเรื่องความทุกข์ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง "ความทุกข์ทางจิต" เลียวนาร์ด สวีดเลอร์ (Leonard Swidler) ให้ความเห็นว่าพุทธศาสนาใช้ภาษา "จากข้างล่าง" หรือ "จากภายใน" ในขณะที่ศาสนาที่เชื่อเรื่องพระเจ้าเช่นศาสนาคริสต์ใช้ภาษา "จากข้างบน" หรือ "จากภายนอก" ในแง่นี้ภาษาและความคิดของพุทธศาสนาจึงใกล้เคียงกับลักษณะการวิเคราะห์และ วิพากษ์วิจารณ์ของนักคิดสมัยใหม่ ส่วนแอนโทนี เฟอน์นานโด (Antony Fernando) เห็นว่าวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงใช้กับสานุศิษย์นั้นเป็นสิ่งที่ใกล้เคียง กับวิธีการที่จิตแพทย์ใช้กับคนไข้คลินิก

ตามทรรศนะ ของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (พ.ศ. 2545 - 2531) พระภิกษุผู้ได้ชื่อว่าเป็น "ปรมาจารย์แห่งการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว" นั้น จิตใจของมนุษย์ประกอบด้วยสิ่งที่สำคัญสองสิ่งคือความคิดและความรู้สึกตัว (สติ) หลวงพ่อเทียนเห็นว่าคนเราคิดตลอดเวลาทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เมื่อเราทำงานหรือพูดเราคิดอย่างตั้งใจ แต่เมื่อเราอยู่ตามลำพังและไม่ได้ใจคิดอะไร ความคิดก็หาได้หลุดลงไม่ เรายังคงคิดต่อไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ในตอนกลางคืนความคิดปรากฏออกมาในรูปของความฝัน ถ้าเราไม่รู้วิธีที่จะจัดการกับความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือความคิดที่มันปรุงแต่งของมันนี้เองมันจะกลายเป็นสาเหตุที่นำความทุกข์ ความเดือดร้อนมาสู่จิตใจของเรา

ความคิดเป็น สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษย์ ความคิดได้สร้างสรค์อารยธรรมของมนุษย์ทั้งมวล แต่ในขณะเดียวกันความคิดก็ได้นำความทุกข์ชนิดพิเศษมาสู่มนุษย์ซึ่งไม่ปรากฏ ในสัตว์อื่น ความคิดได้สร้างความยินดี ความสุข และความหวัง แต่มันก็ได้สร้างความเจ็บปวด ความว้าเหว่ และความสิ้นหวังให้เช่นกัน ตามทรรศนะของหลวงพ่อเทียน ความคิดเป็นรากเหง้าของความโลภ ความโกรธ และความหลง อันเป็นที่มาของความหมองมัวทั้งปวงในตัวมนุษย์

จุดมุ่งหมาย หลักของการปฏิบัติในพุทธศาสนาดังเช่นกานเจริญสติแบบเคลื่อนไหวที่หลวงพ่อ เทียนแนะนำ นับเป็นการปลุกความรู้สึกตัวหรือสติ เพื่อว่าสติที่ตื่นขึ้นโดยธรรมชาตินั้นจะรู้และ "เห็น" ความคิด ตามคำสอนของหลวงพ่อเทียน เมื่อสติเห็นความคิด ความคิดจะหายไปในทันที สติที่สมบูรณ์เต็มรอบจะทำหน้าที่ตัดลูกโซ่ของความคิด หรือทวนกระแสของความคิดโดยตัวของมันเอง ขณะเมื่อสติตัดกระแสความคิด เราจะเห็นโลกตามที่เป็นจริงนอกความคิดในขณะนั้น ตามทรรศนนะของหลวงพ่อเทียน เมื่อสติอยู่เหนือความคิดและเห็นโลกตามที่เป็นจริง ความทุกข์ภายในจิตใจจะสิ้นสุดลง หลักพุทธศาสนาที่เน้นเรื่องความทุกข์ และสาเหตุของความทุกข์ภายในจิตใจนั้น อาจให้ทรรศนะที่ใหม่ต่อการวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหาเรื่องความทุกข์ของ มนุษย์ แก่นักเทววิทยาในศาสนาคริสต์ก็เป็นได้

2. อิสรภาพทางสังคมการเมือง

แม้ว่าศาสนาคริสต์จะมีคำสอนที่เกี่ยวกับอิสรภาพภายในของบุคคลอยู่บ้าง แต่แนวโน้มโดยส่วนใหญ่มักจะเน้นเรื่องทางสังคมและประวัติศาสตร์ เทววิทยาแห่งการปลดปล่อยในละตินอเมริกาเป็นรูปแบบหนึ่งของศาสนาคริสต์ที่มี แนวโน้มเช่นนนั้น ซึ่งตีความปัญหาความทุกข์ของมนุษย์ไม่ใช่เพียงในแง่ของปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่ยังในแง่ของสังคมการเมืองอีกด้วย และเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยก็ได้เข้าเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาอิสรภาพทาง สังคมและการเมืองที่เป็นรูปธรรม

กัสตาโว เกอเทร์เรส (Gustavo Guatierrez) ผู้เป็น "บิดาเทววิทยาแห่งการปลดปล่อย" กล่าวไว้ว่า ในการปฏฺบัติเทววิทยานั้น ความคิดที่วิพากษ์วิจารณ์จะต้องมาเป็นอันดับแรก และเทววิทยามาเป็นที่สอง การวิพากษ์วิจารณ์เป็นเครื่องมืออันสำคัญของเทววิทยาแห่งก่ารปลดปล่อย ทั้งในการอ่านคัมภีร์ไบเบิ้ลและในการเกี่ยวข้องกับความทุกข์ที่เป็นรูปธรรม ของมนุษย์ โดยเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยเห็นว่าความรอดพ้นไม่สามารถจะอยู่นอกกรอบของ อิสรภาพทางสังคมได้ กล่วอีกนัยหนึ่งความรอดพ้นเป็นผลของอิสรภาพทางสังคมกับอิสรภาพภายใน ซึ่งรวมกันเป็นจุดหมายเดียวในชีวิตมนุษย์

จุดเน้นอย่างใหม่อีกจุดหนึ่งในการตีความคัมภีร์ไบเบิ้ลของนักเทววิทยาแห่งการปลด ปล่อยก็คือคำสอนสำคัญของพระเยซูไม่ใช่ตัวของพระเยซูเอง หรือพระเยซูที่เป็นสากล หรือไม่ใช่แม้แต่พระเจ้า แต่เป็น "อาณาจักรของพระเจ้า" นอกจากนี้ยังมีการตีความอาณาจักรของพระเจ้าในรูปของความยุติธรรมทางสังคมใน หมู่มนุษย์และประชาชาติ ในแง่นี้ชาวคริสต์ที่ดีก็คือบุคคลที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมสำหรับคนยากจน ผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และชนชั้นผู้ไร้อภิสิทธิ์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในโลก เพื่อว่าอาณาจักรของพระเจ้าจะได้รับการสถาปนาขึ้นบนพื้นโลกนี้

พุทธศาสนา ยังขาดทฤษฎีและการปฏิบัติที่ชัดเจน ในการแก้ไขปัญหาความทุกข์ทางสังคมการเมืองของชนชั้นที่เสียเปรียบใน สังคมอย่างเป็นณุปธรรม พุทธศาสนาจึงจะสามารถเรียนรู้ทรรศนะทางสังคมการเมืองจากเทววิทยาแห่งการปลด ปล่อยได้ค่อนข้างมาก.
--
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9529. คอลัมน์หน้าต่างความจริง, หน้า 6.

THAI CADET

 

© 2547-2567. จัดทำเป็นวิทยาทาน โดย THAI CADET

Made with Pingendo Free  Pingendo logo