คานธีไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักเกี่ยวกับชื่อที่ควรจะใช้เรียกรัฐบาลในอุดมคติ ท่านได้เห็นถึงชื่อที่ถูกใช้อย่างผิดๆ ในวงการเมืองร่วมสมัย และท่านก็ได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ของอินเดียที่ผ่านมาว่า การปกครองแม้ของกษัตริย์หรือพระจักรพรรดิ เช่น พระราม และพระเจ้าอโศกมหาราช ก็สามารถบรรลุถึงอุดมคติอันสูงนี้ได้ สิ่งที่ท่านยกย่องที่สุดได้แก่ (1) สวัสดิภาพในทุกๆ ด้านของประชาชน (2) รัฐบาลที่ยึดมั่นอยู่บนหลัก "อหิงสา" และมีความแข็งขันในทางจริยธรรม (3) และผลที่ตามมาก็คือ การไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดหรือประเทศใดแม้ที่มิใช่ของตน คานธีต้องการให้อินเดียใช้ "สวราช" หรือการปกครองตนเอง ซึ่งท่านหมายถึงรัฐบาลที่ "ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน โดยได้รับเสียงสนับสนุนจำนวนมากที่สุดจากประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งชายและ หญิง ไม่ว่าจะเกิดภายในประเทศหรือมาตั้งภูมิลำเนาก็ตาม" ท่านยังต้องการให้ประชาชนไม่ทำตัว "เหมือนกับแกะ" ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการกำหนดรูปแบบของรัฐบาลตาม "ความสามารถพิเศษ" ของประชาชน การปกครองตนเองควรเป็น "อำนาจอธิปไตยของปวงชนบนพื้นฐานแห่งอำนาจทางจริยธรรมที่บริสุทธิ์"
มหาตมะ คานธี มีความเห็นว่า เมื่อรัฐเริ่มต้นเอารัดเอาเปรียบและขัดขวางความก้าวหน้าของปัจเจกชน ก็เป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของประชาชนที่จะถอนความร่วมมือจากรัฐ และเปลี่ยนแปลงรัฐด้วยการสร้างความกดดันทางศีลธรรม ด้วยการไม่ให้ความร่วมมือแบบ "อหิงสา" ซึ่งเป็นสิ่งที่คานธีใช้ในการทำให้รัฐบาลอังกฤษเป็นอัมพาตในอินเดีย ดังนั้นจิตสำนึกทางการเมืองควรต้องได้รับการหมั่นลับให้คมชัดอยู่เสมอ รัฐและรัฐบาลควรถูกตรวจสอบให้ถูกต้องเสมอๆ ด้วยการตัดสินของประชาชนบนหลักการพื้นฐานสองประการคือ ความร่วมมือ และการไม่ร่วมมือ ชีวิตทางจริยธรรมของปัจเจกบุคคลเป็นเช่นไร รัฐก็เป็นเช่นนั้น "เสรีภาพจะมีอยู่ได้ก็ด้วยการระมัดระวังอย่างรอบคอบตลอดเวลาเท่านั้น"
รัฐและปัจเจกชน
คานธีกล่าวว่า "การปกครองตนเองขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งภายในของเราทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความสามารถของเรา ที่จะต่อสู้กับการครอบงำจากภายนอก แท้จริงแล้วการปกครองตนเองที่มิได้มีการต่อสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุ ถึงเป้าหมายและเพื่อดำรงรักษาเป้าหมายนั้นไว้ ไม่สมควรที่จะได้รับชื่อนั้น" คานธีตระหนักถึงข้อเท็จจริงด้วยความขมขื่นที่ว่า แม้แต่รัฐบาลของประเทศนั้นเองก็อาจเป็นเช่นเดียวกับรัฐบาลต่างชาติ ที่กลายเป็นอุปสรรคกีดขวางเสรีภาพและการเติบโตของปัจเจกบุคคล ท่านได้เห็นในประเทศที่เรียกกันว่าอิสระหลายประเทศ ที่ประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อของการกระทำตามอำเภอใจของรัฐและผู้นำเผด็จการ ดังนั้นท่านจึงไม่ปรารถนาให้อำนาจของรัฐแข็งแกร่งและเด็ดขาดเกินไป เพราะจะกลายเป็นสิ่งบีบคั้นมโนธรรมและการเติบโตในทางจริยธรรมของปัจเจกบุคคล ได้ คานธีกล่าวย้ำอย่างแข็งขันว่า "ปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเหนือสิ่งอื่นใด" ไม่ต้องสงสัยเลยว่า รัฐในปัจจุบันต้องติดตั้งแสนยานุภาพและกำลังทางทหารเพื่อปกป้องประชาชน และดำรงรักษาสันติภาพและความเป็นระเบียบ แต่ก็เป็นยุคสมัยที่เลวร้ายสำหรับปัจเจกชนเมื่อเขาต้องมอบการริเริ่ม ทุกอย่างไว้กับรัฐ และได้แต่มองดูเฉยๆ ในทุกสิ่งทุกอย่างที่รัฐเป็นผู้กระทำให้ การต้องพึ่งพิงรัฐโดยปริยายเช่นนี้จะค่อยๆ นำไปสู่ลัทธิ "เอกาธิปไตย" (autocracy) (ลัทธิการปกครองที่มีผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว) และลัทธิเผด็จการ ปัจเจกชนควรต้องพยายามต่อสู้ด้วยตนเองเสมอๆ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในอันที่จะสร้างวินัยทางจริยธรรมของตนเองขึ้นมา เพื่อว่าพวกเขาจะได้ค่อยๆ กลายเป็นกฎหมายสำหรับตนเอง และต้องการความพยายามที่น้อยลงๆ ในการปฏิบัติภายใต้แรงกดดันภายนอกจากกฎหมายของรัฐ รัฐก็ควรที่จะค่อยๆ กลายเป็นสถาบันสวัสดิการขึ้นมาและค่อยๆ ลดการบังคับลง
เกี่ยวกับรัฐ ในอุดมคตินี้ คานธีกล่าวว่า "ยังมีรัฐอนาธิปไตย (anarchy) (ลัทธิที่ไม่มีกฎหมายและการปกครอง) ของผู้รู้แจ้ง ในรัฐเช่นนั้นทุกคนต่างก็ปกครองตนเอง เขาปกครองตัวเขาเองในลักษณะที่ว่า เขาไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางผู้ที่อยู่ใกล้เคียงเขา...แต่อุดมคตินี้ไม่เคยเป็น จริงโดยสมบูรณ์ในชีวิต ข้อความอันเป็นอมตะของธอโร (Thoreau) จึงกล่าวว่า รัฐบาลที่ดีที่สุดคือรัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สุด" ในด้านองค์กรทางเศรษฐกิจก็เช่นเดียวกัน คานธีปรารถนาให้มีการประกอบการของเอกชน และกระตุ้นให้ปัจเจกชนได้พัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจบนพื้นฐานของการคำนึงถึง ผู้อื่น แน่นอนทีเดียว คานธีเห็นถึงความจำเป็นของรัฐในการตรวจสอบการเอารัดเอาเปรียบ และในการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมเป็นบางอย่าง แต่ท่านคัดค้านอย่างแข็งขันในการที่รัฐจะเข้าจัดการกับพวกนายทุนด้วยวิธีการ บังคับ หากปราศจากวินัยทางจริยธรรม การชักชวนทางจริยธรรม และความสมัครใจที่จะควบคุมความโลภในทรัพย์สินและอำนาจแล้ว ทั้งปัจเจกชนและสังคมก็ไม่อาจจะรุ่งเรืองได้ การที่มนุษย์สร้างกลไกของรัฐที่เข้มงวดเพื่อบังคับตรวจสอบความไม่สุจริตใน สังคมนั้น ได้นำไปสู่การใช้อำนาจในทางที่ผิดมากมาย ครั้งแล้วครั้งเล่าสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นนั้นกลับกลายเป็นอุปสรรคต่อ มนุษย์เสียเอง ในการก้าวไปสู่ความสูงส่งและความเต็มเปี่ยมแห่งภูมิธรรม ความเป็นประชาธิปไตยที่แท้ คานธีเห็นว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่เคยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรุนแรงและการบังคับ ในการส่งเสริมความเติบโตอย่างเต็มที่และอย่างเป็นอิสระของปัจเจกชน สังคมประชาธิปไตยจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกอันเป็นมิตร ความเข้าใจในเหตุผล ความเชื่อถือ และความร่วมมือซึ่งกันและกัน ด้วยหลักการนี้เองที่มวลมนุษย์ได้ก้าวหน้ามาถึงเพียงนี้ และด้วยหลักการนี้เช่นเดียวกันที่มนุษยชาติจะสามารถก้าวหน้าต่อไปได้ หลักสำคัญแห่งความรักของมนุษย์ได้ดลใจมนุษย์ให้ค้นหาคุณความดีของตนในความดี ของส่วนรวม
ตราบเท่าที่หลักการนี้ได้รับการปฏิบัติตาม สันติภาพก็จะเกิดขึ้นในระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ กลุ่มชนกับกลุ่มชน ประเทศกับประเทศ หลักการแห่งความรักหรือ "อหิงสา" นี้ ควรเป็นพื้นฐานในองค์กรของมนุษย์ทุกๆ องค์กร จากหน่วยที่เล็กที่สุดที่เรียกกันว่าครอบครัว ไปจนถึงองค์กรที่ใหญ่ที่สุดคือครอบครัวแห่งมนุษยชาติ ถ้าหน่วยที่เป็นส่วนประกอบหน่วยใดขาดศีลธรรม กล่าวคือ ใช้ความรุนแรง ความเกลียดชัง ความโลภ และอื่นๆ แล้ว สภาพของส่วนรวมที่ใหญ่กว่าก็จะถูกบิดเบือน และถูกทำลายด้วยการต่อสู้ สงคราม และความเสื่อมโทรม สันติภาพและความสุขของมวลมนุษย์ก็จะตกอยู่ในอันตราย
ประชาธิปไตยจะ เติบโตได้ก็ด้วยความพยายามของปัจเจกชนโดยสมัครใจเท่านั้น และไม่อาจได้มาด้วยการบังคับจากภายนอก คานธีกล่าวว่า "ข้าพเจ้าถือว่าประชาธิปไตยไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยวิธีการบังคับ ความเป็นประชาธิปไตยนั้นไม่อาจเรียกร้องบังคับได้จากภายนอก จะต้องเป็นสิ่งที่มาจากภายใน" ดังนั้นการมีปัจเจกบุคคลที่ดีย่อมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการมี ประชาธิปไตยที่ดี จริยธรรมจึงเป็นหลักประกันทั้งต่อความก้าวหน้าของปัจเจกบุคคล และต่อพัฒนาการของประชาธิปไตยที่แท้ คานธีได้เห็นถึง "ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ซึ่งตั้งอยู่บนเสรีภาพของปัจเจกชน ปัจเจกชนเป็นสถาปนิกในการสร้างรัฐบาลของตนเอง กฎแห่งอหิงสาได้ปกครองเขาและรัฐบาลของเขา"
รัฐบาลในอุดมคติ
คานธีได้ใช้เวลาตลอดชีวิตของท่านในการนำประเทศไปสู่อิสรภาพ แม้ว่าท่านจะได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลประชาธิปไตยในอุดมคติเป็น ครั้งเป็นคราวอยู่เสมอก็ตาม แต่ท่านก็ไม่เห็นว่า ถึงเวลาหรือจำเป็นที่จะต้องพูดในรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของรัฐบาลใน อุดมคติ ที่จริงแล้วความคิดของท่านมีอยู่ว่า ถ้าหนทางเป็นสิ่งที่ดีแล้วเป้าหมายก็จะต้องดีด้วย ดังนั้นท่านจึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการดำเนินหนทางแห่ง "อหิงสา" เพื่ออิสรภาพของประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากลักษณะของรัฐบาลประชาธิปไตยควรจะตัดสินโดยประชาชนผู้เป็นอิสระ ท่านจึงไม่ชอบที่จะบงการล่วงหน้าถึงรูปแบบของรัฐบาลที่อินเดียควรจะมี อย่างไรก็ตาม เราสามารถกล่าวถึงลักษณะบางประการซึ่งท่านเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ
คานธีไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักเกี่ยวกับชื่อที่ควรจะใช้เรียกรัฐบาลในอุดมคติ ท่านได้เห็นถึงชื่อที่ถูกใช้อย่างผิดๆ ในวงการเมืองร่วมสมัย และท่านก็ได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ของอินเดียที่ผ่านมาว่า การปกครองแม้ของกษัตริย์หรือพระจักรพรรดิ เช่น พระราม และพระเจ้าอโศกมหาราช ก็สามารถบรรลุถึงอุดมคติอันสูงนี้ได้ สิ่งที่ท่านยกย่องที่สุดได้แก่ (1) สวัสดิภาพในทุกๆ ด้านของประชาชน (2) รัฐบาลที่ยึดมั่นอยู่บนหลัก "อหิงสา" และมีความแข็งขันในทางจริยธรรม (3) และผลที่ตามมาก็คือ การไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดหรือประเทศใดแม้ที่มิใช่ของตน คานธีต้องการให้อินเดียใช้ "สวราช" หรือการปกครองตนเอง ซึ่งท่านหมายถึงรัฐบาลที่ "ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน โดยได้รับเสียงสนับสนุนจำนวนมากที่สุดจากประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งชายและ หญิง ไม่ว่าจะเกิดภายในประเทศหรือมาตั้งภูมิลำเนาก็ตาม" ท่านยังต้องการให้ประชาชนไม่ทำตัว "เหมือนกับแกะ" ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการกำหนดรูปแบบของรัฐบาลตาม "ความสามารถพิเศษ" ของประชาชน การปกครองตนเองควรเป็น "อำนาจอธิปไตยของปวงชนบนพื้นฐานแห่งอำนาจทางจริยธรรมที่บริสุทธิ์"
--
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11264 . คอลัมน์หน้าต่างความจริง, หน้า 6.